ในปัจจุบันยอมรับว่าบทความสั้นๆมีความสำคัญต่อการพัฒนาเว็บไซต์เป็นอย่างมาก รวมถึงสำหรับผู้ที่สร้าง Personal Brand ในตัวอีกด้วย บก.เห็นว่าเรื่องนี้ได้รับความสนใจอย่างต่อเนื่องทั้งจากนักเขียนบทความขาย และผู้ที่เป็นเจ้าของธุรกิจเว็บไซต์ ซึ่งนำ
ประเภทบทความสั้นๆที่นิยมนำมาเขียน
1.บทความสั้นๆเกี่ยวกับสุขภาพ
บทความสั้นๆเกี่ยวกับสุขภาพ เป็นบทความที่ได้รับความนิยมมากเป็นอันดับต้นๆของการเขียนบทความสั้นๆ อันอาจเนื่องมาจากปัญหาสุขภาพของคนไทยที่เริ่มมีมากขึ้นเรื่อยๆ ประกอบกับการรักษาพยาบาลที่ยังทำให้ประชาชนต้องพึ่งพาตนเองมากขึ้น เราจะพบว่าบทความสั้นๆเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพนั้นจะได้รับความสนใจจากผู้อ่านและเกิดการแชร์เป็นจำนวนมาก ดังนั้นหากคุณมีความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพแล้วล่ะก็ บทความสั้นๆเกี่ยวกับสุขภาพ สามารถตอบโจทย์ความต้องการของผู้อ่านได้อย่างแน่นอน
2.บทความสั้นๆมีสาระ
บทความสั้นๆ มีสาระ หมายถึงบทความจิปาถะ 108 ซึ่งครอบคลุมทุกหมวด แต่เน้นไปที่มีสาระเป็นสำคัญ คือหมายถึง อ่านแล้วได้ความรู้ตรงตามความต้องการของผู้อ่าน บทความเหล่านี้มักได้รับการแชร์ออกไปเป็นจำนวนมากเชา่นกัน และเรามักพบบทความเหล่านี้ใน Line
3.บทความสั้นๆสอนใจ
อีกหนึ่งประเภทบทความสั้นๆ ที่นิยมมากคือ บทความสั้นๆสอนใจ อาจอยู่ในรูปของคำคม หรือ 10 สิ่ง… ต่างๆ ซึ่งบทความเหล่านี้นั้น สามารถสร้างแรงบันดาลใจ หรือช่วยให้ผู้อ่านปลดทุกข์ในใจได้ จึงถือว่าเป็นบทความสั้นๆที่ได้รับความนิยมมากพอสมมควร
4.บทความสั้นๆภาษาอังกฤษ
บทความสั้นๆภาษาอังกฤษ จัดเป็นบทความที่เป็นยาขมสำหรับนักเขียนชาวไทย เพราะว่าไม่ถนัดในการเขียนภาษาอังกฤษนั่นเอง แต่กระนั้นก็ตาม บทความกลุ่มนี้ก็ได้รับการแชร์ และใช้งานเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะใน Fb หรือใน IG ของหลายๆคน นอกจากจะเป็นบทความที่ดูทำให้ผู้อ่านเป็น Hi-so แล้ว ยังเป็นบทความที่เพิ่มพูนความรู้ให้กับตนเองได้ดีอีกด้วย
5.บทความสั้นๆเกี่ยวกับความรัก
เรื่องของความรัก เป็นเรื่องที่ประชากรทุกคนนั้นจะต้องพบเจอ และถือว่ามี Demand ของการอ่านมากที่สุดอีกหนึ่งตลาดเลยครับ ดังนั้นการเขียนบทความสั้นๆเกี่ยวกับความรัก จะเป็นอีกหนึ่งประเภทบทความที่มีโอกาสเกิดการแชร์ออกไปเป็นจำนวนมาก และอาจสร้างกลายเป็นรายได้ให้กับคุณได้เช่นกัน
6.บทความสั้นๆเกี่ยวกับชีวิต
ชีวิตมนุษย์ มีหลายสิ่งที่น่าค้นหาและน่าติดตาม ดังนั้นการร้อยเรียงเรื่องราวของชีวิตออกมาเป็นบทความ น่าจะตอบโจทย์ของผู้แสวงหาความหมายของชีวิตได้ บทความแนวนี้แม้ว่าจะไม่ค่อยหามุม หรือมิติในการทำเงินได้ก็ตาม แต่มันช่วยเพิ่มคุณค่าทางจิตใจให้กับเราได้มากที่เดียวครับ
ข้อดีของการหมั่นเขียนบทความสั้นๆ
1.ลับคมความรู้ในเรื่องที่เราชำนาญ
การเขียนบทความสั้นๆ ช่วยเพิ่มความรู้ความชำนาญให้กับตนเองในเรื่องนั้นๆเพิ่มขึ้น เป็นการเกลาสำนวนการเขียน การดีดดิ้นทางภาษา และการปรุงแต่งความหมายและอรรถรส
2.ช่วยเพิ่ม Value ให้กับสินค้าหรือบริการของคุณเอง
การเขียนบทความสั้นๆ สามารถช่วยเพิ่ม Value ให้กับตนเองได้ โดยเฉพาะหากตัวคุณนั้นเจ้าของแบรนด์ หรือที่เรียกว่า Personal brand บทความสั้นๆที่ดีจะสามารถช่วยสร้างมูลค่าให้กับตัวคุณขึ้นมาได้เพิ่มขึ้น
3.สามารถสร้างรายได้ได้ด้วย
ข้อดีประการสุดท้ายของการเขียนบทความสั้นๆคือ คุณสามารถสร้างรายได้ทั้งแบบ 1.Active หรือแบบ 2.Passive ขึ้นอยู่กับว่าเลือกใช้บทความแบบไหนหรืออย่างไร ซึ่งหากคุณเป็นนักเขียนบทความขาย คุณสามารถขายบทความออกไปได้เลย แต่ถ้าเป็นบทความแบบ Passive นั่นหมายถึงคุณอาจเป็นเจ้าของเว็บ และเขียนบทความลงเว็บไซต์ของตนเองเป็นหลัก
วิธีการวางแนวทางพัฒนางานเขียนบทความสั้นๆ
1.กำหนดวัตถุประสงค์ของการอ่านให้ได้เสียก่อน
เมื่อคุณเกิดแรงบันดาลใจที่จะเขียนบทความสั้นๆ ขึ้นมาเมื่อไหร่ขอให้คณกำหนดวัตถุประสงค์ของการเขียนบทความสั้นๆขึ้นมาว่า ต้องการเขียนเพื่ออะไร หมายถึงเมื่อผู้อ่านอ่านบทความนี้จบ ผู้อ่านจะได้รับอะไร โดยปกติแล้ว บก.จะสรุปออกมาได้ 3 วัตถุประสงค์ด้วยกัน
1.1อ่านจบแล้ว สามารถแก้ปัญหาบางสิ่งในชีวิตได้
การแก้ปัญหาเช่น ความที่เป็นสิวผด เมื่ออ่านบทความสั้นๆของคุณเกี่ยวกับสิวผดแล้ว สามารถแก้ปัญหาสิวผดในตนเองได้ หรือบางคนอาจกำลังอกหักอยู่ แต่บทความของคุณ เมื่ออ่านจบแล้วทำให้คนที่อ่านนั้นคลายอาการอกหักได้ ซึ่งก็จัดอยู่ในรูปแบบของการแก้ปัญหาอย่างหนึ่งเช่นกัน
1.2อ่านจบแล้ว สามารถก่อสิ่งใหม่ หรือพัฒนาสิ่งใหม่ๆ หรือที่มีอยู่แล้วให้ดีขึ้นได้
จุดประสงค์ของบทความสั้นๆแบบที่สองคือ เมื่ออ่านแล้ว ทำให้เกิดไอเดีย หรือต้องการต่อยอดทำสิ่งใหม่ หรือทำบางสิ่งให้ดีขึ้น เช่นอาจเป็นบทความ “วิธีเลี้ยงกุ้งในบ่อหลังบ้านสร้างรายได้เดือนละ 100,000 บาท” แบบนี้เป็นต้น บทความแนวนี้มักได้รับความนิยมเมื่อนำมาผนวกกับธุรกิจ หรือบทความที่ต้องการสร้างอินโฟเพอเนอร์ เพื่อขายสินค้า หรือบริการบางอย่าง
1.3อ่านจบแล้ว สามารถเกิดแรงบันดาลใจในการทำบางสิ่งขึ้นมา
จุดประสงค์ของบทความสั้นๆแบบที่สาม คือ เมื่ออ่านจบแล้วเกิดแรงบันดาลใจขึ้นมา เช่น มีแรงบันดาลใจในการมีชีวิตต่อไป มีแรงบันดาลใจในการหาเงินเพิ่มขึ้น หรืออาจเป็นแรงบันดาลใจให้เราต้องการท่องเที่ยวหาประสบการณ์ไปทั่วโลก แบบนี้ก็ได้
แก้ – ก่อ – เกิด 3 กอ = วัตถุประสงค์การเขียนบทความสั้นๆ
ลองสังเกตดูนะครับว่า บทความสั้นๆที่มีอยู่ในโลกอินเทอร์เน็ตนั้น ต่างสรุปมาได้ 3 ข้อเหมือนกับที่ บก.สรุปไว้หรือไม่ แต่ก็อาจมีวัตถุประสงค์อื่นๆได้ครับ ยังไงก็เอามาแบ่งปันกันตรง comment กันได้ครับ
2.เลือกเนื่อหาน่าสนใจ Update และมีฐานข้อมูลจริง
3.เขียนต้นร่างขึ้นมา 1 ฉบับ และพัก 1 วันก่อนเขียนใหม่
เมื่อคุณได้แนวทางการเขียนบทความขึ้นมาแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือการเขียนต้นร่างของบทความสั้นๆของคุณขึ้นมา มันอาจจะเป็นแค่หัวข้อขึ้นมาก่อนก็ได้ คุณไม่จำเป็นต้องลงรายละเอียดของบทความ แค่เขียนเป็นกรอบขึ้นมาก็พอ โดยกรอบของบทความสั้นๆนั้นควรประกอบไปด้วย
3.1 ชื่อเรื่อง (ที่สามารถปรับแก้ไขได้)
3.2 ตัวเนื้อหา ที่คุณอาจจะยังเขียนเป็นแค่หัวข้อ หรือประเด็นก่อนก็ได้
การเขียนต้นร่างนั้นไม่จำเป็นต้องลงเนื้อหาเยอะมากนะครับ เว้นแต่ว่าคุณนั้นมีเวลา และพร้อมที่จะเขียนมันขึ้นมาจนเสร็จ อย่างนี้คุณก็สามารถลงเนื้อหาหรือรายละเอียดของบทความลงไปได้เลย โดยหลักการคือ เมื่อเขียนบทความเสร็จแล้ว คุณจะต้องเก็บไว้อย่างน้อยสัก 1 – 2 วันก่อนที่จะกลับมาแก้ไขสำนวนและตรวจบทความนั้นอีกครั้ง ซึ่งในขั้นตอนของการตรวจบทความนี้ล่ะครับ จะช่วยให้บทความของคุณนั้นมีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น
4.แก้ไขบทความสั้นๆนั้นอีกครั้งก่อนเผยแพร่
5.เพิ่มมูลค่าให้กับบทความสั้นๆด้วยกรอบรูปภาพ
เป็นอย่างไรกันบ้างครับ บก.คิดว่าหลังจากที่ได้นำเสนอแนวทางการเขียนบทความสั้นๆ พร้อมกรอบบทความสั้นๆยอดนิยมแล้ว คิดว่าผู้อ่านคงมองเห็นแล้วว่าตนเองนั้นจะสามารถเขียนบทความสั้นๆในแนวทางใด หรือนำความรู้ในการเขียนบทความนี้ไปประยุกต์ใช้กับเว็บไซต์ หรือธุรกิจของตนเองยังไงบ้าง
อย่าลืมนะครับ หลักสำคัญของการเขียนบทความสั้นๆ คือ ต้องเขียนบทความให้ได้ต่อเนื่องอย่างน้อย 21 วัน เพื่อให้ทักษะของเราเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นครับ และก็ลองนำไปใช้เขียนลง facebook หรืออัพสเตตัสของคุณดู
แบบฝึกหัดทบทวนความรู้ท้ายบทความ
- 1.บทความสั้นๆหมายถึงอะไร
- 2.ประเภทของบทความสั้นๆที่นิยมเขียน มีอะไรบ้าง
- 3.จงบอกข้อดีของการเขียนบทความสั้นๆ
- 4.จงบอกขั้นตอนการเขียนบทความสั้นๆ ว่ามีกี่ขั้นตอนอะไรบ้าง
- 5.ลองเขียนบทความสั้นๆขึ้นมา 1 บท และส่งให้ บก.ฮีโร่ซังช่วยตรวจบทความที่ [email protected]