ผู้เขียนเชื่อว่าหลายคนที่ทำธุรกิจออนไลน์ คงจะตระหนักและมีปัญหากับกรมสรรพากรอยู่ไม่น้อยว่า ถ้ามีปัญหาจะรับมืออย่างไร แก้ปัญหาอย่างไรจึงจะเสียหายน้อยที่สุด วันนี้ เราจึงขอมาแนะนำเคล็ดลับดีๆในเรื่องนี้กัน เผื่อจะเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่ต้องเผชิญหน้ากับสรรพากรบ่อยๆ จะได้นำไปใช้ได้ในอนาคต ใครอยากรู้ บอกเลยว่า ต้องอ่านบทความนี้ให้จบ

การนัดหมายกับกรมสรรพากร  

หากวันดีคืนดี โทรศัพท์มือถือดังขึ้นพร้อมกับปลายสายจากกรมสรรพากร พร้อมกับบอกเวลานัดพบ เช่น วันพุธที่ 10 ธ.ค. ให้เดินทางมาที่กรมสรรพากร ให้ระลึกไว้เสมอว่า บอกปฏิเสธไปว่าไม่ว่าง เพราะนั่นหมายความว่า เจ้าหน้าที่เขามีหลักฐานเพียงพอที่จะเชือดคุณแล้ว ดังนั้น เมื่อฝ่ายตรงข้ามเปิดเผยเวลาที่เขาสะดวก เราก็ควรไม่ไปตามเวลานั้น แต่ควรเป็นเวลาที่ทางเราสะดวกมากกว่า ตัวอย่างเช่น เปลี่ยนจากวันพุธที่ 10 เป็นวันพฤหัสที่ 1 หรือเลื่อนไปให้ช้าลง เพื่อที่คุณจะได้เตรียมเอกสารและสิ่งอื่นๆได้ทัน

เมื่อเลื่อนเวลานัด เพื่อตระเตรียมเอกสารต่างๆแล้ว แต่ทว่า…กลับไม่ทัน ในกรณีนี้ แนะนำว่า อย่าโทรไปเลื่อนนัดเด็ดขาด เพราะเจ้าหน้าที่ของกรมสรรพากรจะต่อรองเวลาให้เร็วขึ้น พร้อมกับเอกสารต่างๆที่เร่งรัดให้จัดหา ซึ่งเจ้าของธุรกิจออนไลน์อาจเป็นฝ่ายเสียเปรียบได้ เพราะฉะนั้น ควรเขียนเอกสารพร้อมระบุวัน – เวลานัดหมายใหม่อีกครั้งและส่งอีเอ็มเอสทางไปรษณีย์ วิธีนี้ เจ้าหน้าที่จะไม่สามารถต่อรองกับคุณได้โดยตรง ส่งจดหมายมาวันไหน ส่วนใหญ่ก็ต้องเป็นไปตามนั้น

ทริคแนะนำ 

สำหรับคนที่ทำธุรกิจออนไลน์และต้องนัดหมายเวลาเพื่อไปเจอกับเจ้าหน้าสรรพากร แนะนำว่า ให้นัดหมายเวลาเข้าพบประมาณช่วงบ่ายแก่ๆของวันศุกร์ หลัง 15.00 น. เพราะช่วงเวลานี้ พบว่าเจ้าหน้าที่และพนักงานส่วนใหญ่เริ่มไม่อยากทำงานกันแล้ว และจะรีบปิดงานให้เร็วที่สุด ทำให้เจ้าหน้าที่ มีเวลาในการรีดภาษีของคุณน้อยลง แบบนี้ทุกอย่างที่เตรียมมาก็จะราบรื่นมากขึ้น วิธีนี้เป็นจิตวิทยาอย่างหนึ่งที่สามารถนำไปใช้ได้ในชีวิตจริง

เทคนิคในการเจรจากับเจ้าหน้าที่สรรพากร  

การเจรจาในที่นี้ แตกต่างกันไปในแต่ละกรณี หากจะให้ระบุคงต้องเจาะจงเฉพาะในแต่ละเคส เพราะธุรกิจออนไลน์หลายๆอย่างมีการค้าขายที่หลากหลาย ช่องทางการรับเงินก็มีหลายช่องทาง แต่สิ่งที่เหมือนกันคือ การเจรจากับเจ้าหน้าที่ จะต้องเป็นไปตามกรอบที่กรมสรรพากรได้วางไว้ แน่นอนว่า คนที่ได้เปรียบคงจะเป็นใครไปไม่ได้ นอกจากเจ้าหน้าที่ เพราะฉะนั้น เราไม่จำเป็นต้องเล่นไปตามกติกาที่ฝ่ายตรงข้ามวางไว้ แต่ควรเล่นนอกเกมส์ที่ไม่ผิดกติกาและถูกกฎหมายจะดีกว่า

ตัวอย่างเช่น

ผู้เขียนเคยเจอเคสหนึ่งที่น่าสงสารคนทำธุรกิจออนไลน์มาก เพราะเขาเสียภาษีอย่างถูกต้องมาโดยตลอด แต่แล้ว วันหนึ่งกลับมีเจ้าหน้าที่จากกรมสรรพากรโทรมาบอกว่า “คุณไม่ได้เสียภาษีอย่างถูกต้องตามกฏหมาย เพราะคุณเสียภาษีผิดประเภท” เมื่อเจอปัญหานี้ ถามว่าผู้ประกอบธุรกิจออนไลน์ผิดไหม ตอบเลยว่า ผิด เพราะไม่ดูให้ดีเสียก่อนว่าภาษีที่เสียคือ ภาษีประเภทอะไร อย่างไรก็ตาม ในส่วนของเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบเอง ก็มีส่วนผิดด้วยเช่นกัน แถมอาจมีส่วนรู้เห็นที่เกี่ยวข้องกับการทุจริตด้วย

เพราะเจ้าหน้าที่เองต้องทราบดีอยู่แล้วว่า บุคคลนี้ประกอบธุรกิจอะไรและเสียภาษีประเภทอะไร แต่กลับไม่มีการท้วงติงหรือให้คำแนะนำใดๆจนเวลาผ่านมานานกว่า 6 ปี ในกรณีนี้ คุณสามารถฟ้องร้องเจ้าหน้าที่ว่าละเลยและปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบได้ เพราะหลังจากเหตุการณ์นี้ เจ้าของธุรกิจออนไลน์ได้เรียกร้องและปฏิเสธข้อกล่าวหาว่า ตนไม่ได้เสียภาษี แต่เป็นเพราะความบกพร่องของเจ้าหน้าที่ในเขตต่างหาก ทำให้ยอดชำระภาษี จากเดิมที่มีมูลค่านับล้านบาท เมื่อคุณเจรจาถูกที่ ถูกเวลา ถูกจุด เจ้าของธุรกิจออนไลน์ที่นักเขียนรู้จักรายนี้ ก็หลุดพ้นข้อกล่าวหานี้ไป

ดังนั้น จากกรณีศึกษาที่เกิดขึ้นจริง ทำให้เห็นว่า ทุกข้อกล่าวหาที่เจ้าหน้าที่ได้กล่าวมา ไม่ได้หมายความว่าเขาถูกไปทั้งหมดหรือเราผิดไปทั้งหมด ดังนั้น หากใครที่เจอกับปัญหาเหล่านี้และมั่นใจว่าตัวคุณไม่ได้หนี ภาษีแน่นอน ควรชี้แจง รวบรวมหลักฐาน อย่าอยู่ในกรอบที่เจ้าหน้าที่วางไว้เพียงอย่างเดียว แต่ควรเจรจานอกกรอบเพื่อตัวของคุณเอง แบบนี้โอกาสชนะก็จะมีมากขึ้น

อย่าลืมสิ่งที่ต้องนำไป  

ในการเจรจาทุกครั้ง สิ่งที่ไม่ควรลืมนอกจากเอกสารทางการเงินและหลักฐานต่างๆคือ กล้องวิดีโอ เพราะหากเกิดอะไรขึ้น คุณสามารถใช้กล้องวิดีโอถ่ายคลิปเจรจาเป็นหลักฐาน แต่สำหรับคลิปเสียงไม่สามารถใช้ได้ เพราะสามารถตัดต่อเปลี่ยนเสียงได้ มันไม่มีน้ำหนักพอที่ศาลจะเชื่อถือ เนื่องจากจุดอ่อนอย่างหนึ่งของเจ้าหน้าที่สรรพากรคือ การเจรจาในเรื่องของภาษีนั้นเก่งมาก แต่หากมีการบรรทึกหลักฐาน จะทำให้การพูดทุกอย่าง ระวังตัวมากขึ้น เพราะหลายๆคำพูดอาจใช้เล่นงานเจ้าตัวในศาลได้

ทริคแนะนำ

การถ่ายคลิป ไม่จำเป็นต้องแอบถ่าย  ให้บอกไปตรงๆเลยว่าจะถ่าย เพราะเจ้าหน้าที่ไม่มีสิทธิ์ปฏิเสธ เมื่อทำการเปิดเครื่องบันทึกแล้ว ให้พูดออกไปอีกครั้งด้วยว่า การถ่ายวีดิโอในครั้งนี้ ใช้เป็นหลักฐาน ไม่ใช่การแอบถ่าย แต่ได้แจ้งเจ้าหน้าที่ไว้เรียบร้อยแล้ว เพราะนโยบายศูนย์ราชการใสสะอาด ต้องอยู่บนพื้นฐานของความโปร่งใสและตรวจสอบได้ ดังนั้น การถ่ายคลิปเพื่อการเจรจา ไม่ถือว่าเป็นการทำผิดกฎหมายใดๆ


อาจารย์ต้น
อาจารย์ต้น

สวัสดีครับ ผมชื่ออาจารย์ต้น ผมรักการเขียนบทความ SEO มาตั้งแต่ปี 2014 จนถึงปัจจุบันผ่านเว็บ articleheros.com ปัจจุบันสนใจค้นคว้า วิธีหาเงินออนไลน์ การลงทุนออนไลน์ และเขียนบทความแบ่งปันทุก ๆ คนในรูปแบบคู่มือ ที่คุณสามารถอ่านและเอาไปใช้งานได้จริง อย่าลืมกด subscription กันนะครับ

Leave a Reply

Your email address will not be published.