0Comments

แชร์เทคนิค เขียนบทความ ขายในเฟซบุ๊ค

สำหรับใครที่ต้องการเขียนบทความขายในกลุ่มเฟสบุ๊ค แต่ไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไรให้งานเขียนขายได้ บอกเลยว่า คุณมาถูกทีแล้ว เพราะในบทความนี้จะแชร์เทคนิคเด็ดๆให้ทุกคนได้ทราบกันแบบไม่มีหมกเม็ด แต่ทั้งนี้ บทความที่ขายก็ต้องเป็นบทความที่มีคุณภาพและโดนใจผู้ซื้อกันด้วย ไม่อย่างนั้นงานเขียนคงขายไม่ออก ซึ่งจะมีอะไรกันบ้างนั้น ตามมาดูกันได้เลย ต้องโดนใจผู้อ่าน – ผู้ซื้อ  ผู้ซื้อเป็นลูกค้าคนสำคัญที่นักเขียนบทความ ควรใส่ใจ ไม่ว่าจะเป็นลักษณะความชอบ เนื้อหาของบทความสำนวนที่ใช้ หรือเว็บไซต์ที่จะนำไปลง หากบทความถูกต้องตามหมวดหมู่และมีเนื้อหาที่เหมาะสมก็จะขายได้ง่ายๆ บางรายประกาศขายไม่ถึง 1 ชั่วโมงก็มีผู้มาติดต่อรับซื้อและขอให้เขียนเพิ่มเป็นจำนวนมาก ซึ่งใครที่อยากขายได้เร็วๆ แนะนำให้ดูว่า ผู้ประกาศซื้อบทความต้องการบทความประเภทใดและลองติดต่อกลับไปพร้อมแนบตัวอย่างไว้ก็สามารถทำได้เช่นกัน ตั้งชื่อบทความให้โดน  การเขียนบทความ จะขายได้หรือไม่ ส่วนหนึ่งอยู่ที่ชื่อเรื่อง ซึ่งถือเป็นด่านแรกที่ผู้ซื้อจะเห็นและให้ความสนใจ เพราะฉะนั้น ผู้ขายบทความควรตั้งชื่อบทความให้มีความน่าสนใจ
0Comments

7 ข้อห้ามทำ เมื่อรับเขียนบทความ

สมัยนี้การเขียนบทความได้รับความนิยมกันมาก เพียงแค่มีคอมพิวเตอร์ 1 เครื่องก็สามารถเป็นนักเขียนได้แล้ว ไม่เหมือนเมื่อก่อนที่ส่วนใหญ่ ผู้จ้างจะรู้จักนักเขียนผ่านสื่อ สิ่งพิมพ์เท่านั้น แต่ทว่า...ทุกอย่างก็เหมือนดาบสองคม เพราะด้วยความง่ายและสะดวกสบายของการมีเทคโนโลยี ทำให้เกิดนักเขียนขึ้นมามากมาย ทั้งนักเขียนที่มีคุณภาพและนักเขียนสมัครเล่นที่บางครั้งก็ทำให้วงการนี้เสื่อมเสียชื่อเสียงอยู่ไม่น้อย วันนี้ ในฐานะรุ่นพี่จึงขอพามาดู 7 ข้อห้ามทำ เมื่อรับเขียนบทความ มาฝากนักเขียนมือใหม่ทุกท่านกัน ห้ามใช้ความคิดสร้างสรรค์เพียงอย่างเดียว แม้การใช้ความคิดสร้างสรรค์มาเขียนลงในบทความจะเป็นสิ่งที่ดี เพราะทำให้บทความมีความสดใหม่และน่าค้นหา อย่างไรก็ตาม มีบทความบางประเภทที่นักเขียนไม่สามารถใช้เพียงความคิดสร้างสรรค์ได้ นั่นคือ บทความวิชาการ เพราะบทความประเภทนี้ จำเป็นต้องใช้แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือและถูกต้อง นำมาเขียนลงในบทความ เพื่อให้ดูมีน้ำหนักและสามารถนำไปเผยแพร่ได้ โดยที่ไม่ส่งผลเสียต่อผู้อ่านที่จะนำไปใช้ต่อ แต่ที่สำคัญคือ อย่าลืมให้เครดิตของแหล่งข้อมูลที่นำมาด้วย
0Comments

6 วิธี เริ่มต้นเขียนบทความง่ายๆ 2017

สำหรับใครที่เป็นนักเขียนมือใหม่หรืออยากจะเข้ามาในวงการนักเขียน เชื่อว่าคงมีคำถามร้อยแปดพันประการว่าจะเริ่มต้นอย่างไร เขียนแบบไหนให้ผู้อ่านถูกใจและมีลูกค้าอยากจ้างต่อ ผู้เขียนต้องบอกก่อนว่าการเป็นนักเขียนไม่ได้มีกฏเกณฑ์ที่ตายตัวหรือจะต้องกำหนดว่าทำอย่างนั้น อย่างนี้ เพียงแต่เรามีความตั้งใจ รู้จักพัฒนาตนเอง มีจรรยาบรรณในอาชีพ เพียงเท่านี้โอกาสที่จะได้เป็นนักเขียนมืออาชีพก็ไม่ยากแล้ว แต่ถ้าใครอยากจะรู้เคล็ดลับและเทคนิคดีๆในการเริ่มต้นเขียนบทความ วันนี้ เราจะพามาดูกัน ฝึก ฝึกและฝึก  การฝึกเขียนในขั้นต้นไม่ต้องมีกฎเกณฑ์หรือหลักการอะไรมาก เป็นการเขียนสไตล์ที่เราชอบ ถนัดเรื่องใด มีความรู้ในเรื่องไหนก็สามารถนำมาเขียนได้เลย และลองให้คนที่รู้จักหรือกรุ๊ปนักเขียนอ่านบทความของคุณดูว่ามีข้อบกพร่องที่ต้องเพิ่มเติมตรงส่วนใดหรือไม่ หากยังไม่กล้าเผยแพร่บทความออกไป ขอแนะนำว่าเมื่อเขียนเสร็จ ทิ้งบทความที่เขียนเอาไว้สัก 1 วันแล้วค่อยกลับมาอ่านในวันถัดไป เพราะหลังจากกลับมาอ่านอีกครั้ง เราจะเริ่มรู้ว่ามีพารากราฟใดที่อ่านแล้วไม่เข้าใจและต้องเพิ่มเนื้อหาอะไรลงไปบ้าง อ่านบทความที่เผยแพร่ทางอินเทอร์เน็ต  เพื่อเก็บมาเป็นประสบการณ์ แต่ไม่ใช่คัดลอก เพราะสิ่งนี้ถือว่าผิดจรรยาบรรณในการเป็นนักเขียน  แต่ที่ให้อ่าน เพื่อดูว่างานเขียนที่มีคุณภาพนั้นเป็นอย่างไร
0Comments

เคล็ด(ไม่)ลับ เขียนบทความที่ไม่คุ้นเคย 2017

การเขียนบทความไม่ได้จำกัดอยู่ที่บทความทั่วไปเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงบทความวิจัย บทความวิชาการ บทความที่ต้องใช้ความสามารถทางภาษา ซึ่งบางครั้งบทความทั่วๆไปอย่างสุขภาพ ความสวยความงาม การดูแลตนเอง ผู้เขียนเชื่อว่าหลายๆคนก็มีความถนัดและมีคลังข้อมูลเป็นของตนเองที่สามารถเขียนออกมาได้เลย แต่ทว่า...บางครั้งก็จะมีบทความบางประเภทที่ไม่ค่อยถนัดหรือไม่ค่อยได้พบเจอบ้าง หากเกิดเหตุการณ์แบบนี้ขึ้น นักเขียนบทความอย่างเราจะทำอย่างไร ตามผู้เขียนมาดูกันได้เลย ค้นคว้าจากในหนังสือ สำหรับบทความบางประเภทโดยเฉพาะด้านวิชาการ ทฤษฎีและปรัชญา บางครั้งข้อมูลทางอินเทอร์เน็ตจะไม่ค่อยละเอียดเท่ากับข้อมูลในหนังสือที่เขียนโดยนักวิชาการ นักเขียนบทความจึงควรค้นคว้าข้อมูลที่อยู่ในหนังสือด้วย เพื่อให้บทความมีความเกี่ยวข้องและมีข้อมูลที่อัพเดททันต่อเหตุการณ์ในปัจจุบัน ซึ่งทุกวันนี้ก็มีห้องสมุดมากมายที่ให้ประชาชนเข้าไปใช้บริการได้ฟรี เช่น ห้องสมุดประจำจังหวัด ห้องสมุดของมหาวิทยาลัย เชื่อเถอะว่าหากไปแล้วคุณจะได้แหล่งข้อมูลที่ยอดเยี่ยมเพิ่มขึ้นอีกเพียบ หาความรู้เพิ่มเติม   สิ่งหนึ่งสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งสำหรับนักเขียนบทความทุกคนคือ การพัฒนาตนเองและหมั่นศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่รับเขียนบทความภาษาอังกฤษ จำเป็นต้องศึกษาถึงการใช้ไวยากรณ์ รากศัพท์ ศัพท์เฉพาะทาง รวมถึงคำแสลงต่างๆเอาไว้ให้ดี เพราะจะช่วยให้งานเขียนของคุณ
0Comments

แชร์วิธีหาไอเดีย เขียนบทความ 2017

เชื่อว่าหลายคนคงเคยมีปัญหาเวลาที่เขียนบทความแล้วเกิดขาดไอเดียขึ้นมา จนไม่รู้ว่าจะเขียนอย่างไร จบอย่างไร เกริ่นนำยังไง ซึ่งผู้เขียนเองก็เคยประสบกับปัญหานี้มาก่อน โดยเฉพาะบทความเฉพาะทางที่บางครั้งก็ไม่สามารถค้นหาได้ง่ายๆทางอินเตอร์เน็ตหรือในหนังสือ วันนี้ เพื่อลดปัญหาสมองตีบตัน ผู้เขียนจึงขอมาแชร์วิธีหาไอเดียดีๆในการเขียนบทความมาฝากผู้อ่านทุกท่านกัน รับรองว่าใครที่เจอกับปัญหานี้อยู่ บทความนี้จะช่วยคุณได้อย่างแน่นอน หาไอเดียจากการเขียน Mind Map เวลาคิดอะไรได้ให้เขียนออกมา แล้วลองนำมาเชื่อมโยงกันดู แม้บางอย่างจะยังไม่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาโดยตรง แต่ควรนำมาไว้ใน Mind Map ก่อน ไม่แน่ว่าเวลาที่เขียนอาจเกิดการเชื่อมโยงไอเดียดีๆอีกก็ได้ ตัวอย่างเช่น ครั้งแรกที่ผู้เขียนได้รับคีย์เวิร์ด “ลดความอ้วน” ในตอนแรกก็เขียนได้ลื่นไหล แต่เมื่อผ่านไปสัก 20 บทความก็เริ่มหมดมุก จนต้องหันไปพึ่งเจ้า Mind Map
0Comments

เขียนบทความ อย่างไรให้คนอ่านถูกใจ

การเขียนบทความ เป็นอีกช่องทางหนึ่งสำหรับการหารายได้เสริมหรือบางคนก็สามารถทำเป็นรายได้หลักได้เลย แต่ทว่า...การเขียนบทความขายก็ไม่ใช่งานที่ใครๆก็สามารถทำได้ง่ายๆ เพราะหากขึ้นชื่อว่างานเขียนก็ย่อมมีลายเส้นและสไตล์การเขียนเป็นของตนเอง ความยากง่ายจึงขึ้นอยู่กับการฝึกฝน มุ่งมั่นในการพัฒนาของแต่ละคน วันนี้ ผู้เขียนจึงขอพาทุกท่านที่มีความฝันในการเป็นนักเขียนมาให้เห็นกันว่า การเขียนบทความให้ผู้อ่านและผู้จ้างประทับใจ เขาทำอย่างไรกันบ้าง 1.เขียนให้ประทับใจคนอ่าน  นอกเหนือจากการตั้งชื่อเรื่องและคัดเลือกเนื้อหาที่จะนำมาเขียนให้มีความน่าสนใจแล้ว การจะเขียนบทความให้มีความน่าประทับใจนั้น จะต้องไม่ลืมวางแผนถึงแนวทางการเขียนที่ดี ตรงประเด็น ไม่เวิ่นเว้อและใช้ภาษาที่สามารถเข้าใจได้ง่าย หากเป็นคำศัพท์เฉพาะทาง ก็ควรอธิบายให้ผู้อ่านทั่วไปเข้าใจด้วย อาจจะเป็นการใช้อ้างอิงหรือวงเล็บต่อท้ายข้างหลังก็ได้ ฟังดูอาจจะเป็นเรื่องง่ายๆ แต่รู้มั้ยว่า จุดนี้เป็นจุดที่นักเขียนหลายคนใช้เวลาและใช้พลังในการวางพล็อตเรื่องนานที่สุด เพื่อให้ผู้อ่าน อ่านแล้วเกิดความประทับใจ 2.คำนำ ใครว่าไม่สำคัญ  การเขียนคำนำที่ดี ควรคำนึงถึงการปูเนื้อเรื่องให้ผู้อ่านต้องการอ่านบทความในลำดับต่อไป ซึ่งเทคนิคง่ายๆก็คือ ผู้เขียนไม่ควรบอกถึงเนื้อหาที่จะเขียนทั้งหมด แต่ควรกล่าวให้เป็นประเด็นเพื่อให้ผู้อ่านเกิดความสนใจที่จะอ่านบทความ ตัวอย่างเช่น