0Comments

6 เทคนิค เขียนบทความวิชาการ

การเขียนบทความวิชาการที่ดี เป็นศิลปะของการถ่ายทอดอย่างหนึ่ง เพราะทำให้ผู้อ่านเกิดความเข้าใจในเนื้อหา โดยเฉพาะเนื้อหาที่เข้าถึงยาก แต่สามารถทำให้คนทั่วไปที่ไม่ได้อยู่ในวงการนั้นๆสามารถเข้าใจได้ ซึ่งต้องใช้ทักษะและเทคนิคการเขียนพอสมควร แต่ทั้งนี้ การเขียนบทความวิชาการให้มีคุณภาพก็ไม่ใช่เรื่องยาก แต่ถ้าใครเป็นมือใหม่อาจจะต้องใช้เวลาฝึกฝนกันสักหน่อย เพราะของแบบนี้ ขึ้นอยู่กับความตั้งใจและการพัฒนาของแต่ละคน ซึ่งเทคนิคหลักๆที่จะต้องมี ผู้เขียนได้รวบรวมมาไว้ ณ บทความนี้แล้ว เข้าใจว่าบทความที่เขียนว่ามีวัตถุประสงค์อะไร  ผู้เขียนต้องทราบว่าบทความที่จะเขียนมีคอนเซ็ปต์อะไร ต้องการสื่อถึงผู้อ่านกลุ่มไหน เพื่อจะได้วางโครงเรื่องและใช้ภาษาให้เหมาะสมกับบริบทของบทความ ตัวอย่างเช่น ถ้าเป็นงานเขียนทางวิชาการ ควรใช้ภาษาที่เป็นทางการ ไม่เขียนแบบล้อเลียนหรือใช้ภาษาวิบัติ ที่สำคัญคือ อย่าลืมเรื่องการให้เครดิตข้อมูลที่นำมาอ้างอิง เพราะการเขียนบทความแนวนี้ จำเป็นต้องใช้หลักฐานและเอกสารข้อมูลในแหล่งอื่นๆ มาช่วยยืนยันและสนับสนุนข้อมูลที่เขียนด้วยเสมอ เข้าใจเนื้อหาอย่างถ่องแท้ การเขียนบทความวิชาการที่ดี ผู้เขียนจะต้องเข้าใจและเข้าถึงเนื้อหาที่จะใช้เขียนได้เป็นอย่างดี ซึ่งในข้อนี้มีความสำคัญมาก เพราะจะต้องนำข้อมูลที่ได้มาถ่ายทอดให้ผู้อ่านเข้าใจ
0Comments

9 เคล็ดลับสู่การพัฒนาตนเองเป็นนักเขียนบทความคุณภาพ ฉบับ บก.ฮีโร่ซัง

“อาชีพเขียนบทความ คืออาชีพที่สร้างผลตอบแทนสูงมากในวงการ freelance” -บก.ฮีโร่ซัง- สวัสดีครับเพื่อนนักอ่านทุกท่าน ปกติแล้วผู้เขียนมักไม่ค่อยมีโอกาส ในการเขียนบทความเพื่อแบ่งปันข้อมูลเสียเท่าไหร่ อันเนื่องมาจากภารกิจการเขียนบทความให้กับลูกค้า ทั้งลูกค้า SMEs และลูกค้ารายบุคคล โดยประสบการณ์กว่า 3 ปีเข้าปีที่ 4 ซึ่งถือว่ายาวนานทีเดียว จึงอยากขอใช้โอกาสนี้แบ่งปันเคล็ดลับ 9 ข้อสำหรับการพัฒนางานเขียนบทความลงเว็บไซต์เพื่อการนำไปปฏิบัติจริง ซึ่งสามารถใช้ได้ทั้งผู้ที่เริ่มต้นเป็นนักเขียนบทความ หรือผู้ที่เขียนบทความอยู่แล้ว ตลอดทั้งนักธุรกิจ เจ้าของเว็บไซต์ นักเรียน นักศึกษา ใช้เป็นแนวทางในการวางแผนการเขียนบทความลงเว็บไซต์ของตนเอง แนวทางทั้ง 9 ข้อนี้ เป็นประโยชน์อย่างมากกับ บก. และ บก.เชื่อมั่นว่า