เขียนบทความคุณต้องการเป็นนักเขียนบทความมืออาชีพใช่ไหม!

และต้องการเรียนรู้วิธีการ หรือแนวทางการเขียนบทความที่ถูกต้อง!

หยิบปากกา และสมุดเลยครับ ผมพร้อมนำเสนอย่างหมดเปลือก เพื่อให้คุณได้เขียนบทความได้ ทันที! ที่นี่! และเดี๋ยวนี้!

เป็นเรื่องง่ายๆ ที่เราจะสามารถเขียนบทความ หรือสามารถเขียนหนังสือ (E-book) ให้ประสบความสำเร็จได้ แต่การมีเครื่องมือที่ดี ย่อมช่วยให้การพัฒนางานเขียนบทความ หรืองานเขียนของเรานั้นให้มีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น ดังนั้น บก.จึงขอแบ่งปันพื้นที่ตรงนี้เพื่อแบ่งปันเครื่องมือ 14 ข้อ ที่พัฒนาตัวเราให้สามารถเขียนบทความได้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น มีอะไรบ้างมาดูกันครับ

1.เขียนเรื่องที่ถนัดก่อน (Write your Interest)

1 สำรวจเรื่องที่ตนเองถนัดก่อนการเขียนบทความที่ดี สิ่งสำคัญประการแรกคือ จงเริ่มที่การเขียนเรื่องที่ถนัดก่อน สำรวจดูตนเองว่ามีความถนัดในเรื่องใดเป็นพิเศษ เช่น การท่องเที่ยว ธุรกิจออนไลน์ การครัว หรืออะไร บก.เห็นเสมอว่า เมื่อเราเริ่มจากเรื่องที่ถนัด เวลาเขียนบทความ จะเขียนได้ง่ายและเร็วกว่า อีกทั้งที่สำคัญคือ จะรู้สึกสนุกกับการเขียนบทความ ดังนั้นเริ่มจากสิ่งที่ถนัดก่อน

 ลองสำรวจ!

5 หัวข้อด้านล่างนี้คือ บทความที่ตลาดมีความต้องการมา

  • 1.บทความท่องเที่ยว
  • 2.บทความธุรกิจแนว Start up
  • 3.บทความธุรกิจออนไลน์
  • 4.บทความเคล็ดลับเครื่องสำอางต่างๆ
  • 5.บทความการพนัน และ 18+

เคล็ดลับการปฏิบัติจริง!

ลองหานิตยสารที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของ การท่องเที่ยว, ธุรกิจ, ธุรกิจออนไลน์, แคตตาล๊อก, หนังสือโป๊ มาอ่านดูครับ จะได้เห็นแนวทางเบื้องต้นในการเขียนบทความ อ่านสัก 2-3 เล่ม นั่งร้านกาแฟ และลองแกะสำนวนออกมา คุณก็ทำได้แล้ว!

ลิ้งค์สำหรับการเลือกซื้อนิตยสารที่สำคัญ

  • http://www.ookbee.com
  • http://www.ebooks.in.th

2.หาคำศัพท์ในวงการนั้นให้มากที่สุด (Collect Vocabulary)

เพื่อนนักเขียนรู้ไหมครับว่า เรื่องสำคัญประการหนึ่งที่ผู้เขียนเห็นว่า สำคัญ และทำให้คุณนั้นแตกต่างขึ้นมาในการเขียน นั่นคือ การสะสมคำศัพท์ เช่น บก.เขียนบทความเน้นแนวธุรกิจ และการเทรด Forex คำศัพท์ที่ บก.ต้องรู้เช่น “แมงเม่า” “ติดดอย” “ล้างพอร์ต” “non farm” แบบนี้ ซึ่งหากเรามีคำศัพท์เฉพาะทางในวงการเยอะและมากพอ จะช่วยให้คุณสามารถเขียนบทความได้ดียิ่งขึ้น จริงๆแล้ว นี่เป็นความลับข้อสำคัญ! ของการเขียนบทความเลยนะครับ

ลองทำดู!

หาซื้อหนังสือเกี่ยวกับคำศัพท์เฉพาะทางมาใช้เขียนบทความ หรือหาเว็บไซต์ที่รวมเรื่องคำศัพท์ต่างๆมาดูครับ ผมแนะนำว่าในหนังสืออย่าง amazon.com ก็เป็นอีกหนึ่งแหล่งที่มีหนังสือรวบรวมคำศัพท์เฉพาะทางให้คุณศึกษา

เคล็ดลับการปฏิบัติจริง!

หาคำศัพท์ของแต่ละหมวดบทความให้ได้อย่างน้อย 50 คำ คุณก็จะสามาารถเขียนบทความแบบเทพๆได้แล้ว

3.หารูปแบบการเขียนให้เจอ (Find your Pattern)

ข้อนี้ใครที่มาอบรมงานเขียนกับ บก. มักจะได้เรียนรู้สิ่งที่เรียกว่า รูปแบบการเขียน หรือ Pattern ซึ่งมีความสำคัญมากต่อการเขียนบทความครับ เพราะรูปแบบที่ดี และเหมาะสม สามารถช่วยให้คุณเขียนบทความออกมาแล้ว ดูเป็นมืออาชีพ มีความสละสลวย และที่สำคัญคือก่อให้เกิดการแชร์อย่างง่ายดาย ดังนั้นมองหารูปแบบการเขียนของตนเองให้เจอ ก่อนเริ่มต้นเขียนบทความ

ลองทำดู!

วิธีแกะ Pattern ที่ บก.ชอบใช้คือ การอ่านบทความตามเว็บไซต์เฉพาะทาง แล้วดูว่าวิธีการวางโครงเรื่องของเขาทำอย่างไร จากนั้นก็ถอดแบบออกมา และปรับเข้ามาเป็น Pattern ของตนเอง คุณลองทำดูสิ! แล้วจะอัศจจรย์ใจกับผลที่เกิดขึ้น

4.ตั้งชื่อเรื่องให้ได้! (Write your topic first!)

เรื่องที่เราจะเขียนนั้น สิ่งสำคัญคือ คุณจะต้องตั้งชื่อเรื่องขึ้นมาให้ได้ก่อน ชื่อเรื่อง คือสิ่งที่บอกให้รู้ว่า เมื่อผู้อ่าน อ่านบทความจบลง ผู้อ่านจะได้อะไร อีกทั้งยังเป็นการทำให้ผู้เขียนสามารถมองเห็นหัวข้อย่อยๆ ที่ต้องใส่ลงไปในบทความ เพื่อให้ผู้อ่านนั้นบรรลุเป้าหมาย ตามที่ผู้เขียนบทความวางไว้ด้วย

เคล็ดลับการปฏิบัติจริง!

การตั้งชื่อเรื่องเขียนบทความลงเว็บไซต์ กับบทความแบบอื่นๆนั้น มีผลไม่เหมือนกันนะครับ บก.ขอแบ่งปัน เทคนิค 1 ข้อ ให้คุณเพื่อให้บทความของคุณดูน่าสนใจมากยิ่งขึ้น เทคนิคนั้นคือ “จงใส่ตัวเลข” ใช่แล้ว บก.กำลังบอกคุณว่า ให้คุณใส่ตัวเลขลงไปในชื่อเรื่อง เช่นเลข 3 เลข 5 เลข 9 หรือเลข 10

ตัวอย่าง

  • 10 อันดับสถานที่ท่องเที่ยวน่าเที่ยวที่สุดในภาคเหนือ 2015
  • 5 เคล็ดลับการดูแลสุขภาพผิวหน้าของเราให้สวยใสไร้สติตลอดเวลา เป็นต้น

มีงานวิจัย (Moz.com: 2015) ระบุว่าการใส่ตัวเลขลงไปในชื่อเรื่อง มีผลทำให้บทความถูกแชร์ และถูกอ่านมากกว่าบทความแบบอื่นๆครับ

5.เขียนทุกวันวันละ 1 บท (Write your Article every day)

การเขียนบทความเป็นทักษะ (Skill) นั่นแปลว่าคุณจำเป็นต้องฝึกฝน ฝึกฝน และฝึกฝน ดังนั้นทักษะของมนุษย์จะมีการเปลี่ยนแปลงไปเรือยๆ เมื่อเวลาผ่านไปทุกๆ 21 วัน ในสิ่งที่เราทำซ้ำๆบ่อยๆ ดังนั้น บก.จึงมาบอกคุณตรงนี้เลยว่า ถ้าอยากเขียนบทความเก่งๆ  ก็เขียนบทความลงไปทุกวัน วันละ 1 บท โดยบทความที่เขียนต้องมีความยาวประมาณ 1,500 คำไทยขึ้นไป

ห้ามเขียนบทความสั้นๆ และคำกลอน มันไม่มีประโยชน์ต่อการพัฒนาทักษะด้านการเขียนบทความ คุณไปเขียนทีหลังได้ เอาเรื่องของการพัฒนาทักษะและสำนวนก่อน โดยปกติแล้วจากประสบการณ์ หากคุณเขียนบทความต่อเนื่องวันละ 1 บท เป็นเวลา 21 วัน คุณจะพบว่าการเขียนบทความของคุณไหลลื่นขึ้น และเขียนได้ดีขึ้นกว่าเดิมมาก จงคุณเองก็รู้สึกได้ทันที!

เคล็ดลับการปฏิบัติจริง!

แบ่งเวลาวันละ 1 ชั่วโมง เพื่อการเขียนบทความ เดี๋ยวนี้! ระบุไปเลยว่าคุณจะเขียนลงเว็บไซต์ช่วงเวลาไหน แล้วเขียนเลย! คุณต้องเขียนเองนะครับ ไม่ใช่ไปจ้างนักเขียนบทความ หรือ บก.มาทำการเขียนบทความให้กับคุณ

6.เติมความรู้ด้านการเขียนบทความ (Learn for the better)

ผมแนะนำว่า ถ้าเป็นไปได้ ลงตารางอบรมด้านงานเขียนบทความเดือนละ 1 ครั้ง หรือซื้อหนังสือเกี่ยวกับการพัฒนาด้านงานเขียนบทความเดือนละ 2 เล่มมาอ่าน มันไม่ใช่ว่า คุณจะทำให้วิทยาการรวย แต่มันเป็นเรื่องของ คุณใส่ใจกับสิ่งที่คุณรัก (งานเขียนบทความ) มากน้อยแค่ไหน อย่าเสียดายในเงินทุน ผมอยากให้คุณเรียนรู้จริงๆ และมันคุ้มค่ามากๆครับในระยะยาว

การอบรมด้านงานเขียนที่ผมแนะนำ

  • 1.คุณอาจเลือกอบรมการเขียน E-Book โดยตัวจริงด้านการเขียน อย่างคุณเรือรบ คลิกที่นี่
  • 2.คุณอาจเลือกอบรมการเขียนบทความในรูปแบบของ Professional Content Writer กับ บก.ฮีโร่ซัง คลิกที่นี่

บางคนเสียดายกับเงินที่ต้องไปอบรม แต่หารู้ไม่ว่า การได้ฟังตัวจริงที่ทำงานกับลูกค้าที่อยู่ในวงการ นั่นถือว่าเป็นเรื่องยิ่งใหญ่มากๆ เพราะคุณจะได้ฟังทั้งแนวคิด วิธีการคิด ประสบการณ์ ที่บางประสบการณ์วิทยากรอาจต้องเอาชีวิตเป็นเดิมพัน ซึ่งคุณไม่ต้อง!

บก.เจอบางคนที่หยุมหยิมกับการจ้องจับผิดวิทยากร รวมถึงทำตัวเป็นน้ำล้นแก้ว ซึ่งเมื่อเวลาผ่านไปหลายเดือน หรือปี คนเหล่านี้ก็ไม่ประสบความสำเร็จในงานเขียนของตนเอง และนั่นอาจมาจากการไม่ใส่ใจเรื่องการเขียนบทความนั่นเอง

เคล็ดลับการปฏิบัติจริง!

  • 1.เลือกวิทยาการด้านงานเขียน (ไม่จำเป็นต้องเป็นไปตามที่ บก.แนะนำ)
  • 2.ไปถึงสถานที่อบรมก่อนเวลา (คุณจะได้โอกาสสนทนากับวิทยากร)
  • 3.จด 3 สิ่งนี้ให้ได้ ถือว่าคุ้มค่ากับการอบรมแล้ว
    • 3.1วิทยากร มีเคล็ดลับการเขียนอย่างไร
    • 3.2ในช่วงมีปัญหางาน วิทยากรแก้ปัญหานั้นอย่างไร
    • 3.3หัวใจของความสำเร็จในงานนั้นๆในมุมมองของวิทยากร คือเรื่องอะไร

7.สมัครเป็นสมาชิกกลุ่ม Facebook เพื่อการพัฒนางานเขียน (Join a group)

บก.คิดว่าอีกหนึ่งแนวทางที่ช่วยให้คุณนั้นพัฒนาด้านงานเขียนได้เร็วที่สุด คือการเข้าเป็นสมาชิกกลุ่มที่มีการพูดคุย แลกเปลี่ยนข้อมูล เรื่องของบทความ หรือเรื่องการซื้อขายบทความเป็นต้น ซึ่งผมได้สำรวจและขอแนะนำกลุ่มจำนวน 2 กลุ่มต่อไปนี้คือ

กลุ่มตลาดซื้อขายบทความ – Ebook (ปัจจุบันมีสมาชิกกว่า 20,000 คน และเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ)

และ

กลุ่มติวซื้อขายบทความ  Ebook (ปัจจุบันมีสมาชิกกว่า 2,000 คน และเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ)

เชื่อผม การเป็นสมาชิกกลุ่ม จะทำให้คุณได้บรรยากาศ ได้อรรถรส และอื่นๆตามมาอีกมากมาย เกี่ยวกับการเขียนบทความ ถ้ายังไม่ได้เป็นสมาชิก กด เป็นสมาชิก! เดี๋ยวนี้เลยนะครับ

8.อย่าลืมเรื่อง SEO (Don t forget SEO)

การเขียนบทความลงเว็บไซต์ กับการเขียนบทความลงบนกระดาษนั้น มีจุดแตกต่างประการสำคัญคือข้อที่ 8 นี้เอง หรือที่เรียกว่าการทำ SEO จริงๆแล้วเรื่องนี้ถ้าคุณยังไม่ทราบว่าคืออะไร และมีความสำคัญอย่างไรแล้ว ถือว่าคุณกำลังจัดอยู่ในกลุ่ม ล้าหลังทางนวัตกรรม แล้วนะครับ ให้รีบศึกษาเสียโดยด่วน นับตั้งแต่บัดนี้เลย แต่เพื่อความกระชับ ผมขอสรุป หลักการ SEO ไว้กว้างดังนี้ครับ

SEO คือ วิธีการ ปรับ แต่ง เว็บไซต์ เพื่อให้ส่งผลในทาง + ต่อการจัดอันดับของ Google

การปรับ แต่ง เว็บไซต์ มี 2 แบบในปัจจุบันคือ 1.Off-page และ 2.On-Page

โดยการเขียนบทความ จะอยู่ในหมวดของ On-Page

ทุกครั้งที่คุณเขียนบทความลงเว็บไซต์ คุณจะต้องไม่ลืมเรื่องนี้อย่างเด็ดขาด! และมันจะต้องสอดแทรกอยู่ในบทความที่คุณนั้นกำลังเขียน หรือแม้แต่บทความที่คุณกำลังอ่านอยู่นี้ก็ออกแบบขึ้นมาบนพื้นฐานของ SEO-Onpage ทั้งสิ้นนะครับ

เคล็ดลับการปฏิบัติจริง!

  • 1.ตรวจสอบ และทำความเข้าใจการเขียนชื่อเรื่องแบบ SEO
  • 2.ตอบให้ได้ว่า H1 H2 H3 คืออะไร และใช้อย่างไร
  • 3.หลักการ SEO ในช่อง Meta description มีว่าอย่างไร ตอบให้ได้

9.จงเขียนเพื่อประโยชน์ของผู้อ่าน อย่าเขียนเพื่อเงิน

เรื่องประหลาดใจมากที่สุดของ บก.เรื่องหนึ่งคือ ทุกครั้งที่ บก.เขียนบทความและขายให้กับลูกค้า กับให้คนอื่นมาช่วยเขียนบทความ แม้ว่าระบบ Pattern และอื่นๆนั้นจะทำออกมาได้เป็นอย่างดีมากๆ แต่ผลที่สุดคือ บทความนี้กลับไม่ค่อยได้รับการตอบสนองที่ดีจากลูกค้า และไม่ส่งผลให้เกิดการซื้อซ้ำ ตรงนี้ บก.เลยมานั่งวิเคราะห์ เพื่อหาปัจจัย และสาเหตุ สุดท้ายก็มาพบความจริงที่ว่า

การเขียนบทความเพื่อขายนั้น หากผู้เขียนเลือกเอาเงินเป็นตัวตั้งแล้ว ที่สุด คุณจะพังทันที พังในที่นี้หมายถึงว่า เมื่อเงินอยู่ข้างหน้า ทุกอย่างที่เป็นสาระสำคัญของบทความ รวมถึงประโยชน์ที่ผู้อ่านจะได้รับจะหายไปทั้งหมด

แต่คุณอย่าเพิ่งเครียดนะครับ เพราะว่า บก.ก็เคยเป็นแบบนี้ เคยเขียนบทความโดยการเอาเงินเป็นตัวตั้ง แต่กว่าจะพบสัจธรรมด้วยตนเอง ก็เสียเงินไปมากทีเดียว ดังนั้น บก.จึงมาอยู่ตรงนี้ เพื่อบอกกับคุณว่า หยุด! เขียนบทความเพื่อเงิน

แต่…

ให้เขียนบทความเพื่อสร้างสรรค์ และรังสรรค์โลกใบนี้ให้สวยงาม เขียนบทความเพื่อจรรโลงใจคนทั้งโลก ดีกว่าเขียนบทความเพียงเพื่อเงิน และที่สุดแล้ว เงินจำนวนมากก็จะตามมาอย่างไม่ขาดสายแน่นอน

10.จัดวันอ่านหนังสือ 1 วัน

ความสุขของคนเขียนบทความเรื่องหนึ่งคือ การแบ่งวันจำนวน 1 วัน เพื่อทำการอ่านหนังสือ ที่ตนเองนั้นชอบ และเกี่ยวข้องกับเรื่องที่ตนเองนั้นอาจจะนำมาเขียนเป็นบทความได้ ส่วนตัวแล้ว ผมชอบนิตยสาร เพราะว่า สามารถช่วยให้เรามองเห็น เทรน ของบทความว่าควรจะไปในทิศทางใด รวมทั้งการได้เห็นสำนวนบ่อยๆ ก็ช่วยให้สามารถ เขียนบทความออกมาได้ดีในอนาคตด้วย

ผมมักจัดให้วันเสาร์ หรือวันอาทิตย์ เป็นวันแห่งการเติมความรู้!

หนังสือที่ผมอ่านจะอยู่ในหมวดดังนี้

  • 1.หมวดสุขภาพ ฟิตเนส
  • 2.หมวดธุรกิจ ธุรกิจออนไลน์ SMEs และธุรกิจขายตรง
  • 3.หมวดหุ้น

ผมเน้นแค่ 3 หมวดนี้ก็เพียงพอแล้วครับ ต่อการเป็นแนวทางในการนำมาเขียนบทความ หรือนำมาขยายเป็นบทความ เพื่อการขาย หรือการให้เช่าในอนาคต ดังนั้นอย่ารอช่้า ลงมือทำทันทีเลยนะครับ เพื่อความสำเร็จที่ยั่งยืนด้านการเขียนบทความของคุณ!

เคล็ดลับการปฏิบัติจริง!

  • 1.จัดเวลาลงไปในตารางการทำงานของคุณ ว่า เสาร์ หรืออาทิตย์ คุณต้องแบ่งเวลาอย่างน้อย 3-5 ชั่วโมงในการอ่านหนังสือ นิตยสาร
  • 2.จดไอเดีย คำคม หรืออื่นๆที่พบลงในสมุด มันจะกลายมาเป็นส่วนหนึ่งในบทความของคุณ

11.มีวินัยในการเขียนของตนเอง

คำนี้จริงๆแล้วถ้าสรุปออกมาจะเป็นคำว่า “วินัยแห่งความสำเร็จ” และการทำงานขั้นพื้นฐานของการเป็นนักเขียนบทความ คุณสามารถตอบ บก.ได้ไหมว่าในแต่ละวันนั้นนักเขียนบทความต้องลงมือทำอะไรบ้าง บางทีถ้าคุณเห็นตารางการทำงานของนักเขียนบทความสักคน อาจช่วยให้คุณนั้นสามารถ ออกแบบเป็นแนวทางในการเขียนบทความเพื่อขายแบบของตนเองได้

เอาอย่างนี้แล้วกัน บก.ขอแบ่งปันตารางการเขียนบทความของ บก. ให้กับคุณ และคุณสามารถดูแนวทางเพื่อนำไปปรับเป็นของตนเองได้ครับ ลองดูว่ามีอะไรบ้าง

เวลา ตารางงาน
09.00-12.00 เขียนบทความเพื่อส่งให้กับลูกค้า 10 บท
13.00-15.00 เขียนบทความให้ลูกค้า 4 บท
15.00-16.00 เขียนบทความให้ตนเอง 1 บท โดยใช้ Pattern A4
19.00-21.00 อ่านทบทวนความรู้ด้านการเขียนบทความ ทั้งในและต่างประเทศ

บก.จะทำแบบนี้ทุกวันเป็นเวลา 5 วันต่อสัปดาห์ แต่อาจไม่ได้ fix ลงไปว่าจะต้องเป็นวันจันทร์ถึงวันศุกร์ครับ ดังนั้จงเลือกเอาตามความเหมาะสมของตนเองว่า ต้องการออกแบบวันอย่างไร

เคล็ดลับการปฏิบัติจริง!

  • 1.เขียนตารางการทำงานบทความในแบบของคุณตอนนี้ และเดี๋ยวนี้!
  • 2.โปรดระบุด้วยว่า จะเขียนบทความต่อวันในทุกวันที่กี่บท เช่น 5 บท หรือ 10 บท เป็นต้น

12.ปรับปรุง Pattern ของคุณอยู่เสมอๆ

อย่าคิดว่าการเขียนบทความไม่มีอะไรมากไปกว่าการบรรเลงในสิ่งที่ตนเองอยากเขียนนะครับ ผมจะบอกความลับเบื้องต้นให้คุณได้ทราบก่อนเลยว่า บทความนั้นมันมี Pattern อยู่ Pattern คือตัวถังที่อยู่ภายนอก เป็นตัวที่ช่วยทำให้ บทความนั้นดูดี และเมื่อเราใช้ Pattern ใดประสบความสำเร็จ เราก็มักจะใช้กับ Pattern อื่นๆแล้วประสบความสำเร็จด้วยเช่นเดียวกัน

  • Pattern บทความท่องเที่ยว ก็เป็นแบบเฉพาะของการท่องเที่ยว
  • Pattern บทความธุรกิจ ก็มีแบบเฉพาะของความเป็นธุรกิจ

คุณอย่าไปสับสนกับหลักการทำ SEO นะครับ มันเป็นคนละเรื่องเลย และผมบอกเลยว่า ไม่ว่าคุณจะอบรม กับผม หรือจะไปเรียนเขียนบทความจากที่ไหนก็ตาม จงถามเขาถึงเรื่องของ Pattern ด้วย เพราะนี่แหละ คือหัวใจ และเป็นความลับของการเขียนบทความอย่างแท้จริง

13.เริ่มต้นหาลูกค้าได้แล้ว

บก.รู้ว่าการหาลูกค้ารายแรกให้ได้นั้นเป็นเรื่องที่ ใช้ความพยายามพอสมควร แต่ขอให้โปรดอดทนนะครับ การทำงานเขียนบทความเพื่อขายนั้น ไม่ต้องใช้ลูกค้าเยอะมาก เพียงแค่คุณมีลูกค้าประจำ ประมาณ 5-10 คน ก็เพียงพอต่อการหล่อเลี้ยงกลายเป็นรายได้จำนวนมหาศาลแล้ว หากคุณยังไม่รู้ว่า ตลาดที่เราจะใช้ในการหานายจ้างเขียนบทความจะหาที่ไหน อย่างนั้นผมแนะนำ 2 ตลาดนี้ให้คุณ คุณไม่ต้องเสียเงิน และมีโอกาสได้ลูกค้าอย่างรวดเร็ว

www.thaiseoboard.com ห้องประกาศรับจ้างงาน ที่นี่ คุณสามารถเริ่มต้นในการสะสมลูกค้าของคุณ ไปได้เรื่อยๆ ตามที่ต้องการ บก.ก็เริ่มจากที่นี่ครับ แน่นอนแรกๆ มันอาจไม่ง่าย แต่ค่อยๆทำไป แล้วคุณจะชำนาญมากขึ้น
กลุ่มตลาดซื้อขายบทความ – Ebook อีกหนึ่งแห่งที่คุณสามารถสะสมลูกค้าได้คือ ที่นี่ครับ ตลาดซื้อขายบทความและอีบุ้ค ผมการันตีว่า คุณสามารถสร้างโอกาสของรายได้ได้มากมายที่นี่

เคล็ดลับการปฏิบัติจริง!

  • 1.หาซื้อสมุดจดสักเล่ม เพื่อบันทึกงานลูกค้าของคุณ
  • 2.ใช้ Excel เพื่อทำการบันทึกข้อมูลการจ้างงานของลูกค้าของคุณ

14.มอบโอกาสให้ตนเองมาพบ กับ บก.ฮีโร่ซัง

สำหรับข้อสุดท้ายนั้น จริงๆแล้ว ผมไม่ได้ต้องการขนาดนั้นหรอกนะครับ แต่ผมคิดว่า ยังมีเรื่องราวที่น่าตื่นเต้นในโลกของตัวอักษรอีกมากมาย ที่คุณสามารถเดินทางเข้ามาร่วมค้นหาได้ มากมาย มีหลายเรื่องที่ ผมไม่มีโอกาสได้นำเสนอตรงนี้ไม่ว่าจะเป็น

  • 1.สูตรการเขียนบทความชั้นสูงใน Pattern A1 และ A4
  • 2.ขั้นตอนการสร้างตัวตนด้วยบทความ เพื่อการสร้างเงินล้านให้ได้จริง!
  • 3.แนวทางการขายบทความในราคาสูง เฉพาะกลุ่มตลาดที่ต้องการ

หากสิ่งนี้คือองค์ความรู้ที่คุณต้องการเพิ่มเติม การลงทุนกับการเรียนรู้ น่าจะเป็นคำตอบที่ดีที่สุด ผมมีคอร์สอบรมในเรื่องนี้โดยตรงชื่อว่า Professional content writer ซึ่งเป็นการเรียนแบบประกบตัว สอนเป็นกลุ่มเล็กๆ เน้นการทำได้จริง หากคุณต้องการโปรดคลิกที่นี่ เพื่ออ่านรายละเอียด

แต่ถ้าคุณเห็นว่าเพียงพอแล้ว คุณสามารถใช้องค์ความรู้ทั้ง 20 ข้อข้างต้น เพื่อการพัฒนางานเขียนบทความของคุณให้มีความสมบูรณ์ได้เลย และสามารถขายได้อย่างแน่นอน

ทั้งหมดที่ บก.เขียนมา เป็นประสบการณ์ตรงจากการที่เขียนบทความให้กับลูกค้า ดังนั้น บก.จึงเชื่อว่าหากเพื่อนนักเขียนลองเลือกแม้เพียงบางข้อไปประยุกต์ใช้ในการเขียนบทความของตนเอง ย่อมช่วยพัฒนางานเขียนของตนให้มีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้นอย่างแน่นอน ปล. หากคุณคิดว่าบทความนี้อาจเป็นประโยชน์สำหรับทุกคนที่ชื่นชอบการเขียนบทความ และต้องการเริ่มต้นเขียนบทความอย่างมืออาชีพแล้ว อย่าลืมแชร์ข้อมูลนี้กันด้วยนะครับ


อาจารย์ต้น
อาจารย์ต้น

สวัสดีครับ ผมชื่ออาจารย์ต้น ผมรักการเขียนบทความ SEO มาตั้งแต่ปี 2014 จนถึงปัจจุบันผ่านเว็บ articleheros.com ปัจจุบันสนใจค้นคว้า วิธีหาเงินออนไลน์ การลงทุนออนไลน์ และเขียนบทความแบ่งปันทุก ๆ คนในรูปแบบคู่มือ ที่คุณสามารถอ่านและเอาไปใช้งานได้จริง อย่าลืมกด subscription กันนะครับ

    1 Response to "14 ข้อสู่การพัฒนางานเขียนบทความและหนังสือ E-Book ให้สมบูรณ์ (ฉบับใช้งานจริง)"

    • Anne

      ขอบคุณมากค่ะ เป็นประโยชน์มากๆเลยค่ะ

Leave a Reply to Anne Cancel Reply

Your email address will not be published.