%e0%b8%9b%e0%b8%81%e0%b9%80%e0%b8%a7%e0%b9%87%e0%b8%9a-9-%e0%b9%80%e0%b8%84%e0%b8%a5%e0%b9%87%e0%b8%94%e0%b8%a5%e0%b8%b1%e0%b8%9a%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b9%80%e0%b8%9b%e0%b9%87%e0%b8%99

“อาชีพเขียนบทความ คืออาชีพที่สร้างผลตอบแทนสูงมากในวงการ freelance”

-บก.ฮีโร่ซัง-

สวัสดีครับเพื่อนนักอ่านทุกท่าน ปกติแล้วผู้เขียนมักไม่ค่อยมีโอกาส ในการเขียนบทความเพื่อแบ่งปันข้อมูลเสียเท่าไหร่ อันเนื่องมาจากภารกิจการเขียนบทความให้กับลูกค้า ทั้งลูกค้า SMEs และลูกค้ารายบุคคล โดยประสบการณ์กว่า 3 ปีเข้าปีที่ 4 ซึ่งถือว่ายาวนานทีเดียว จึงอยากขอใช้โอกาสนี้แบ่งปันเคล็ดลับ 9 ข้อสำหรับการพัฒนางานเขียนบทความลงเว็บไซต์เพื่อการนำไปปฏิบัติจริง

ซึ่งสามารถใช้ได้ทั้งผู้ที่เริ่มต้นเป็นนักเขียนบทความ หรือผู้ที่เขียนบทความอยู่แล้ว ตลอดทั้งนักธุรกิจ เจ้าของเว็บไซต์ นักเรียน นักศึกษา ใช้เป็นแนวทางในการวางแผนการเขียนบทความลงเว็บไซต์ของตนเอง แนวทางทั้ง 9 ข้อนี้ เป็นประโยชน์อย่างมากกับ บก. และ บก.เชื่อมั่นว่า จะเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านทุกคนเช่นกันครับ

“รู้หรือไม่! การเขียนบทความ ถือเป็นหนึ่งในการทำ SEO Onpage ที่มีความจำเป็นสำหรับทุกเว็บไซต์” : Brian dean : backlinko.com

1.ค้นหารูปแบบการเขียนบทความที่ตนเองถนัดก่อน

“อยากเป็นนักเขียนหรือ ยากนะ! แต่ถ้าคุณอยากเป็นจริงๆ อะไรก็หยุดยั้งคุณไม่ได้หรอก”

Doroti day: (1897-1980)

เคล็ดลับข้อแรกคือ การค้นหาประเภทของงานเขียนบทความที่ตนเองถนัดให้ได้เสียก่อน เรื่องนี้ดูเหมือนจะไม่ค่อยสำคัญเท่าใด แต่จริงๆแล้ว สำคัญมากครับ สมัยผู้เขียนเริ่มเขียนบทความใหม่ๆ สิ่งที่เขียนถนัดที่สุดคือ บทความเกี่ยวกับการพัฒนาธุรกิจ, หุ้น, passive income, ซึ่งในที่สุดมันกลายเป็นชุดบทความที่สามารถทำเงินให้กับผู้เขียนได้เป็นจำนวนมาก

ดังนั้น ลองสำรวจดูสิครับ คุณถนัดงานเขียนประเภทใด ถ้าคุณนึกไม่ออก ก็ลองดูว่า คุณชอบอ่านหนังสือ หรือดูข้อมูลในเว็บเกี่ยวกับเรื่องใดเป็นพิเศษ

บางคนดูเรื่องท่องเที่ยว ชอบเข้าห้อง Blue Planet ของ pantip.com เป็นประจำอย่างนี้ก็เขียนบทความท่องเที่ยวไปเลยครับ รับรองว่ารุ่งแน่นอน (แถมตลาดลูกค้ากว้างและรายได้ดีเสียด้วย)

pantip
ค้นหาไอเดียการเขียนบทความที่หลากหลายกับเว็บไซต์ pantip.com

บางคนชอบอ่านนิยาย 18+ ถ้าเป็นอย่างนั้นก็เขียนบทความแนว 18+ ไปเลยครับ มันขายได้ด้วยนะ ราคาบทความหนึ่งประมาณ 500-1,500 คำไทย อัตราราคาอยู่ที่ 150-1,000 บาทต่อบทความเลยทีเดียว!

หรือบางคนชอบบทความแนวธรรมะ การให้กำลังใจ การพัฒนาตนเอง การพัฒนาชีวิต แบบนี้ก็สามารถเขียนเป็นบทความขึ้นมาได้ และเดี๋ยวนี้กลุ่มกิจการธุรกิจ Start Up กำลังมีความต้องการบทความเหล่านี้เป็นจำนวนมาก คุณก็สามารถขายมันได้เช่นกัน สนนราคาบทความละ 100-500 บาท (500-1,500 คำไทย) หรือมากกว่านั้นเลยนะครับ

ดังนั้นเริ่มต้นค้นหา ประเภทของบทความที่ชอบเขียนขึ้นมาก่อน แล้วที่เหลือจะเป็นเรื่องง่ายแล้วในการเขียนบทความของคุณ

  • IDEA ช่วยคิดต่อไปนี้อาจช่วยให้คุณสามารถค้นหาแนวทางการเขียนบทความที่ชื่นชอบได้
  • 1.ลองเดินเข้าร้านหนังสือ และตรวจสอบดูว่า คุณชอบไปตรงหมวดหนังสือใดมากที่สุด! โดยปกติแล้ว หมวดนั้นมักเป็นหมวดที่คุณน่าจะเขียนเป็นบทความได้ดีที่สุดครับ
  • 2.ถ้าคุณต้องเลือกนิตยสารขึ้นมา 1 เล่ม คุณจะเลือกหยิบนิตยสารอะไร
  • 3.ถ้าคุณเข้าเว็บไซต์ pantip.com คุณจะเลือกห้องใดมากที่สุด ราชดำเนิน, ศาลาประชาคม, สินธร, สีลม ห้องที่คุณเลือก จะเป็นผลสะท้อนของการเขียนบทความในอนาคตของคุณ

2.ศึกษาแนวทางการเขียนบทความจากรุ่นพี่

เคล็ดลับประการที่สองคือ การมองหาแนวทางการเขียนบทความจากรุ่นพี่ๆ ทั้งในและต่างประเทศ ข้อดีคือ มันทำให้เรามองเห็น Pattern เพื่อนำมาใช้ในการเขียนบทความของตนเอง ตรงนี้สำคัญนะครับ ผมอยากให้ใส่ใจมากๆกับคำว่า Pattern  มันก็เหมือนกับ บล็อกกิ้งที่เราสามารถนำมาใช้ได้ทันที…

เช่น Pattern ของบทความท่องเที่ยว ก็จะมีการใส่รูปภาพประกอบการท่องเที่ยว และมีการเขียนรีวิวถึง สิ่งที่ตนเองไปเที่ยว…

ถ้าเป็นบทความธุรกิจ ก็จะมีการเขียนถึงขั้นตอนง่ายๆในการทำธุรกิจนั้นๆใส่ลงไปด้วย…

ดังนั้นถ้าเราสามารถแกะ Pattern ออกมาได้ที่เหลือจะกลายเป็นเรื่องง่ายทันทีสำหรับคุณครับ สำหรับใครที่ไม่รู้ว่าจะตามศึกษา Pattern บทความจากที่ไหนดี บก.มีตัวอย่างงานที่น่าสนใจ เป็นบล็อกเกอร์ แต่ละประเภทของงานเขียนมาฝาก ลองเลือกเข้าไปเสพงานได้ตามที่ตนเองถนัดเลย

Note! ตรงนี้ผมอยากให้คุณใส่ใจรายละเอียดเสียหน่อย ลองดูบทความระดับโลกเหล่านี้แล้วลองแกะดู Pattern ออกมาสิครับว่า เป็นอย่างไร

ตัวอย่างการแกะ Pattern ผมยกตัวอย่างให้ 1 ข้อแล้วกัน คุณจะพบว่าบทความที่มีการแชร์ และได้รับความสนใจ ส่วนมากแล้วจะมีการใช้ตัวเลข ลงไปในชื่อเรื่องเสมอๆ ลองดูตัวอย่างด้านล่างนี้สิครับ

health
เมื่อ บก.เขียนบทความสุขภาพ Pattern ที่เว็บ health.com คือตัวอย่างที่เหมาะสมต่อการถอดแบบออกมา
leaderwings
เว็บไซต์คุณภาพ Leaderwings.co สำหรับงาน Information Product ที่ บก.ชอบแกะรอยบ่อยๆ

3.ยึดคู่มือการเขียนบทความที่คุณชื่นชอบสัก 1 เล่ม

หนังสือการเขียนบทความดีๆสักเล่ม สามารถช่วยให้เราเรียนรู้ทักษะการเขียนบทความลงเว็บที่ถูกต้อง และสามารถขายบทความได้ด้วย (รวมทั้งการเขียนไว้ใช้เอง) จริงๆแล้วตำราเหล่านี้ในต่างประเทศมีค่อนข้างเยอะนะครับ อาทิ  แต่หากคุณสนใจอ่านเป็นตำราไทย บก.ขอแนะนำหนังสือแบ่งปันแนวทางการเขียนบทความของ บก.เองครับ รับรองว่าใครซื้อไปอ่าน ได้ประโยชน์ต่อการนำไปพัฒนาทักษะการเขียนบทความอย่างแน่นอน

ใครๆก็เขียนได้ 600px

หนังสือใครๆก็เขียนได้ โดย บก.ฮีโร่ซัง >> https://www.articleheros.com/ebook

 

4.ลงมือทำทันที!

Just do it!” : Nike

หลังจากที่เราศึกษาคู่มือต่างๆของการเขียนบทความเสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็ถึงเวลาที่เราจะต้องลงสู่สนามจริงกันเสียที คุณต้องกล้า และพร้อมสำหรับการเขียนบทความครับ ลูกค้ารายแรกของคุณอาจมอบประสบการณ์ที่วิเศษสุดให้กับคุณ หรืออาจมอบบทเรียนที่แสนโหดให้กับคุณ คุณก็จะต้องไม่ท้อ และสู้ต่อไป

บก.ยังจำได้สมัยตนเองเขียนบทความขึ้นมาลูกค้ารายแรกนั้น ได้รับการตอบรับการบริการเป็นอย่างดี แต่ในขณะที่ลูกค้ารายที่สองนั้น แทบไล่ บก.ออกไปเลยทีเดียว แต่เราก็ผ่านมันมาได้ ดังนั้นจึงไม่มีสิทธิ์ที่คุณจะถอย และออกไปจากวงการนี้

แหล่งประกาศงานขายบทความของคุณที่น่าสนใจ

เพียง 2 แหล่งข้อมูลข้างต้น คุณก็สามารถมีลูกค้าสะสมได้อย่างเพียงพอสำหรับการเริ่มต้นทำธุรกิจเขียนบทความอย่างแน่นอน

5.วินัยแห่งความสำเร็จสำคัญที่สุด

“มีเพียง 2 สิ่งเท่านั้นที่นักเขียนต้องทำ คือ 1.จงอ่านให้มาก และ 2.จงเขียนให้มาก”

Stephen King: นักเขียนนิยายระดับ Best Seller

เคล็ดลับประการที่ห้า คือ การมีวินัยในตนเอง! ผมอยากให้คุณโน้ตข้อนี้ไว้ในสมุดจดตัวโตๆ มันสำคัญมากๆ และหลายๆคนมักเขียนบทความไม่สำเร็จ เพราะขาดข้อที่ 5 มันเป็นเหมือนเส้นเลือดเลยครับในการหล่อเลี้ยงอาชีพเขียนบทความ และมันทำให้คุณรู้สึกว่า คุณคือนักเขียนบทความที่แท้จริง

shutterstock_412222573
ตรวจสอบตารางการเขียนบทความ และลงมือเขียนบทความทุกวัน

ดังนั้น! ตั้งเป้าหมายเลยครับว่าในหนึ่งวันคุณจะต้องเขียนบทความได้วันละเท่าใด 2 บท 10 บท หรือมากกว่า ตั้งเลย และจงทำ! และทำให้ได้อย่างน้อยต่อเนื่องสัก 21 วัน

ถ้าคุณสามารถทำได้ต่อเนื่องครบ 21 วัน คุณจะเริ่มรู้สึกถึงความเปลี่ยนแปลง 1 อย่างในร่างกายของคุณ นั่นคือ ความมั่นใจที่มันพุ่งขึ้นจนสูงเสียดฟ้า และให้ความรู้สึกว่า คุณมีอาชีพใหม่นี้อย่างแท้จริง

อย่าหยุดแม้แต่เพียงวันเดียว หากหยุด ให้เริ่มต้นนับหนึ่งใหม่อีกครั้ง แน่นอนว่ามันค่อนข้างเจ็บปวดในตอนแรก เพราะคุณอาจต้องเริ่มต้นใหม่หลายครั้ง แต่อย่าหยุด ทำให้มันเหมือนกับการแปรงฟัน ที่ไม่ว่าอย่างไรคุณก็ไม่ลืมที่จะแปรงฟันของตนเอง ทุกวัน!

“ถ้าคุณไม่ลืมแปรงฟันทุกวัน ก็ไม่มีเหตุผลใดๆที่คุณจะไม่สามารถเขียนบทความขึ้นมาได้”

6.ตัวอย่างบทความต้องมี และมีอย่างน้อยสัก 3-4 ตัวอย่าง

เมื่อคุณเริ่มเขียนบทความได้ดีขึ้นและคล่องขึ้น จงเขียนบทความเป็นตัวอย่างขึ้นมาอย่างน้อย 4 ตัวอย่าง และทำการ convert ไฟล์ของมันออกมาเป็น Pdf ครับ ไฟล์เหล่านี้เราจะนำไปใช้ในการ ส่งเป็นตัวอย่างให้กับลูกค้าของเรา

ข้อสำคัญ

  • 6.1อย่าส่งไฟล์ word ไปเด็ดขาด เพื่อที่ว่าคุณจะได้ไม่มีปัญหาข้อพิพาทกันในตอนหลัง
  • 6.2คุณสามารถอัพโหลดไฟล์ไว้ที่เว็บไซต์ slideshare.net และส่งมันให้กับลูกค้าได้
  • 6.3ตรวจทานข้อความ และความถูกต้องให้แน่ใจเสียก่อนส่งบทความนั้นให้กับลูกค้า
slideshare-%e0%b8%ad%e0%b8%b1%e0%b8%9e%e0%b9%82%e0%b8%ab%e0%b8%a5%e0%b8%94%e0%b9%84%e0%b8%9f%e0%b8%a5%e0%b9%8c%e0%b9%80%e0%b8%82%e0%b8%b5%e0%b8%a2%e0%b8%99%e0%b8%9a%e0%b8%97%e0%b8%84%e0%b8%a7%e0%b8%b2
อัพโหลดไฟล์ตัวอย่างเขียนบทความของคุณลงที่ slideshare.net

7.เรียนรู้ที่จะพัฒนา Pattern การเขียนบทความใหม่ๆเพิ่มขึ้นมา

ถ้าคุณเขียนบทความเกี่ยวกับ “หาเงินออนไลน์”  คุณจะพบว่าบางเรื่องมันมักจะมีการเขียนแบบซ้ำๆกัน ถ้าเป็นแบบนี้ ลองถอดแบบมันออกมาให้อยู่ในรูปของ pattern ดูสิครับ มันไม่ยากมากหรอก แต่ได้ผลดีมากเสียด้วยสิ โดยเฉพาะเวลาคุณจะต้องเขียนบทความและนำมันกลับมาใช้อีกครั้ง

รูปแบบการเขียนบทความด้วย Pattern A1 ของ บก.ฮีโร่ซัง

8.หัดเขียนบทความให้ตนเองบ้าง

อย่าเอาแต่เขียนบทความขายอย่างเดียวครับ คุณควรพัฒนาและเขียนบทความให้กับตนเองด้วย บางทีคุณอาจมีทักษะในการเขียนบทความที่เติบโตมากเสียจนสามารถทำเงินให้กับลูกค้าได้อย่างมากมาย แต่ลืมนำความสามารถนั้นมาใช้กับตนเอง

นักเขียนบทความหลายคน มีความรู้สึกไม่กล้า เพราะว่าหากมาเขียนบทความให้ตนเอง มักมองไม่เห็นโอกาสในการสร้างเงิน ทั้งที่ในความเป็นจริงแล้ว

shutterstock_123517663
มองหา passive income ให้กับงานเขียนบทความของตนเองเสมอๆ

IDEA แนวทางการใช้บทความต่อยอดให้กลายเป็นทรัพย์สินดิจิตอลที่มีมูลค่าอย่างที่นึกไม่ถึง

  • 1.เขียนบทความเสร็จแล้ว จากนั้นมองหา Affiliate ที่เกี่ยวข้องกับสินค้าของเราใส่เข้าไปในบทความ เพียงเท่านี้คุณก็ได้รับค่า commission มากมายแล้ว ตัวอย่าง affiliate ที่น่าสนใจ
  • 2.เขียนบทความเสร็จ และเมื่อลงเว็บไซต์แล้ว ก็เปิดให้ผู้คนมาเช่าพื้นที่บนเว็บไซต์ของตนเอง ในรูปแบบของป้ายโฆษณา Banner
  • 3.เขียนบทความเสร็จ และเมื่อลงบทความในเว็บไซต์แล้ว เปิดให้เจ้าของธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับบทความนั้นๆเช่าบทความทั้งบท ซึ่งจะช่วยให้คุณมีรายได้แบบ passive income ตลอดทั้งเดือน ทุกเดือนอีกด้วย
  • 4.เขียนบทความเสร็จ คุณสามารถขายใช้บทความดังกล่าวเป็นสะพานเชื่อมเพื่อขายสินค้า หรือบริการของตนเองได้เลย ตัวอย่างเช่นคุณเขียนบทความท่องเที่ยว คุณอาจขายที่พักของคุณไปในตัวได้เลย
  • 5.เขียนบทความสำเร็จรูปสัก 10 บท จากนั้นขายมันออกไป โดยกำหนดเป็นคีย์ให้ลูกค้าเช่น “หาเงิน” จำนวน 10 บทความเป็นต้น

พอเป็นไอเดียเพื่อการต่อยอดการเขียนบทความ และการสร้าง passive income ไปในตัวด้วยนะครับ

9.นวัตกรรมการเขียนบทความ

ข้อสุดท้ายคือ การมองหานวัตกรรมการเขียนบทความ ที่คุณอาจต้องเลือกนำมาใช้ประกอบกับการเขียนบทความด้วยเสมอ อาทิเช่น

การหาคำหลักด้วยโปรแกรม Keyword Samurai

ตัวอย่างหน้าจอโปรแกรม

โปรแกรมนี้สามารถช่วยคุณมองหา ไอเดียในการเขียนบทความ ที่มีคนอ่าน และตรงกับความต้องการของการค้นหาใน Google เพิ่มขึ้นด้วย ซึ่ง บก.ก็ใช้โปรแกรมนี้ในการออกแบบเป็นตัวบทความให้กับลูกค้า และรวมทั้งออกแบบให้กับการเขียนบทความของตนเองด้วย

เป็นอย่างไรกันบ้างครับกับเคล็ดไม่ลับ 9 ข้อ ที่คุณสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการพัฒนางานเขียนบทความของตนเองได้ทันที และสามารถพัฒนาผลงานบทความดีๆ ออกสู่ตลาดออนไลน์ทั้งในและต่างประเทศได้อย่างแน่นอน ผู้เขียนขอเป็นกำลังใจให้ครับ

-บก.ฮีโร่ซัง-


อาจารย์ต้น
อาจารย์ต้น

สวัสดีครับ ผมชื่ออาจารย์ต้น ผมรักการเขียนบทความ SEO มาตั้งแต่ปี 2014 จนถึงปัจจุบันผ่านเว็บ articleheros.com ปัจจุบันสนใจค้นคว้า วิธีหาเงินออนไลน์ การลงทุนออนไลน์ และเขียนบทความแบ่งปันทุก ๆ คนในรูปแบบคู่มือ ที่คุณสามารถอ่านและเอาไปใช้งานได้จริง อย่าลืมกด subscription กันนะครับ

Leave a Reply

Your email address will not be published.