บทความ
ตรวจสอบ บทความ

เมื่อคุณสั่งซื้อบทความ จากนักเขียน บทความ ต่างๆแล้ว สิ่งหนึ่งที่ บก. เห็นว่าน่าสนใจมากๆ นั่นคือ คำถามที่ว่า บทความ ซ้ำกัน หรือที่ภาษาอังกฤษใช้คำว่า Duplicate Content นั้นเราจะตรวจสอบได้อย่างไร ยิ่งหากบทความดังกล่าวเป็นภาษาไทยด้วยแล้ว ยิ่งอาจตรวจสอบยากไปกันใหญ่ ดังนั้น บก.เห็นว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องที่ น่าจะเป็นประโยชน์อย่างมากต่อผู้จ้างเขียน บทความ หรือแม้กระทั่งการเขียนบทความด้วยตนเอง ดังนั้น บก.จึงขอ หยิบยก วิธีการง่ายๆ ในการตรวจสอบบทความที่ซ้ำกันเอามาฝาก บก.รับรองว่า อ่านจบแล้ว สามารถทำได้ทันทีเลยทีเดียวครับ มาดูกันว่าเราจะตรวจสอบได้อย่างไรบ้าง

1.ตรวจสอบหัวชื่อเรื่อง บทความ

ตรงนี้ต้องทำความเข้าใจก่อนนะครับว่า ชื่อเรื่องนั้น โดยปกติแล้วจะมีการกำหนดความยาวไว้ไม่เกิน 62 ตัวอักษร ซึ่งหัวข้อเรื่องนั้น สามารถซ้ำกันได้นะครับ ไม่มีผลมากในการเกิดปัญหา DC แต่ถ้าเป็นไปได้ หากหลีกเลี่ยงได้ ก็พยายามอย่าทำให้ซ้ำกัน เช่นอาจมีการเพิ่ม หรือลอดคำ หรือสลับตำแหน่งของคำบางคำ ภายในหัวข้อ ตัวอย่างเช่น

หัวข้อที่ซ้ำกันชื่อว่า ” 5 เคล็ดลับการเตรียมตัวสำหรับสอบเตรียมทหาร”

เราอาจเปลี่ยนเป็น “เคล็ดลับ 5 ประการ เพื่อการสอบเตรียมทหาร” หรือ “สูตรลับการสอบ เตรียมทหาร” อย่างนี้เป็นต้น

2.ตรวจสอบเนื้อหาด้านใน บทความ

การตรวจสอบเนื้อหาในเว็บนั้น ค่อนข้างยากสำหรับใครหลายๆคนเพราะ บทความนั้น โปรดเชื่อผมว่า หากเป็นงานเขียนโดยนักเขียนมือสมัครเล่นแล้ว มีโอกาสสูงมากครับที่จะโดนงานเขียนแบบ Copy มาแบบตัดเป็นท่อนๆ โดยจุดสังเกตคือ หากงานสามารถทำเสร็จได้เร็วเป็นพิเศษ นั่นละครับ โอกาสสูงที่งานจะถูกตัดเป็นท่อนๆ แล้วนำมาต่อเป็นบทความ แล้วแก้คำบางคำ ทีนี้เพื่อให้เรามีหลักในการว่าจ้าง ลองเอาเกณฑ์ต่อไปนี้ไปพิจารณาเรื่องเวลาครับ

การเขียนงานของนักเขียนอิสระ จะสามารถเขียนงานได้ชั่วโมงละ 1-2 บทเท่านั้น

การเขียนงานของนักเขียนมืออาชีพ จะสามารถเขียนงานได้ชั่วโมงละ 3-4บทเท่านั้น

โดยทั้งหมด บก.คิดที่ 500 คำไทยต่อบทความนะครับ ดังนั้นจึงเป็นเรื่องยาก ที่ใครจะรับงานแล้วเขียนเสร็จอย่างรวดเร็วและมีคุณภาพ เพราะ บก.บอกเลยว่า โดยเฉลี่ยแล้ว นักเขียนหนึ่งคน สามารถรับงานเขียนแบบคุณภาพได้สูงสุดเพียง 20 บท ถึง 60 บทเท่านั้น ไม่สามารถเขียนได้มากกว่านี้ ยกเว้นจะทำงานเขียนเป็นประจำ ซึ่งแม้กระนั้นก็ยังยากเลยครับ ดังนั้นหากงานเขียนคุณเสร็จเร็วเกินไป ก็สันนิษฐานว่า อาจมีการ Copy งานมาได้แน่ๆ

3.ใช้โปรแกรมตรวจสอบ บทความ

เพื่อให้ง่ายยิ่งขึ้น บก.เสนอให้คุณลองหาโปรแกรมสำหรับการตรวจสอบ ว่าบทความนั้นซ้ำกันหรือไม่ มาลองใช้ดูสิครับ สำหรับโปรแกรมที่อยากแนะนำนั้น ใช้งานไม่ยาก และเป็นโปรแกรมแบบออนไลน์ด้วย นั่นคือ SmallSEOTool.com/

สำหรับโปรแกรมนี้นั้น เราเพียงแต่ทำการ Copy เนื้อหาของบทความที่ซ้ำกันนั้นมา พิมพ์ลงไปจากนั้นรอทำการตรวจสอบ สักพักโปรแกรมจะแสดงผลออกมาเลยครับว่า บทความนั้นคาดว่า จะซ้ำกันเท่าใด โดยหากเราได้ค่าคะแนน 100% ก็เท่ากับว่า บทความนั้นไม่ซ้ำและสามารถนำไปใช้งานได้ทันทีครับ

เป็นอย่างไรบ้างครับกับหลักการ 3 ประการที่คุณสามารถนำไปใช้ในการวิเคราะห์ว่า บทความที่ได้รับมานั้น ซ้ำกันหรือไม่ ซึ่งแน่นอนว่า หากบทความนั้นซ้ำกัน คงเป็นเรื่องที่ไม่ดีอย่างแน่นอน เพราะจะมีปัญหาตามมาอีกมากมาย ดังนั้นก่อนสั่งซื้อบทความ หรือสั่งซื้อบทความไปแล้ว อย่าลืมสุ่มตรวจสอบบทความด้วยเสมอๆนะครับ

 


อาจารย์ต้น
อาจารย์ต้น

สวัสดีครับ ผมชื่ออาจารย์ต้น ผมรักการเขียนบทความ SEO มาตั้งแต่ปี 2014 จนถึงปัจจุบันผ่านเว็บ articleheros.com ปัจจุบันสนใจค้นคว้า วิธีหาเงินออนไลน์ การลงทุนออนไลน์ และเขียนบทความแบ่งปันทุก ๆ คนในรูปแบบคู่มือ ที่คุณสามารถอ่านและเอาไปใช้งานได้จริง อย่าลืมกด subscription กันนะครับ

Leave a Reply

Your email address will not be published.