0Comments

เขียนบทความ SEO เรื่องง่ายๆที่หลายคนไม่รู้

การเขียนบทความถือเป็นศิลปะอย่างหนึ่งที่ต้องถ่ายทอดผ่านตัวอักษรให้ผู้อ่านเข้าใจ และถ้าจะให้ดีก็ต้องนำไปใช้ประโยชน์หรือเป็นความรู้ติดตัวได้ ซึ่งปัจจุบัน ด้วยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ทำให้งานเขียนบทความมีความสำคัญและจำเป็นมากในตลาดออนไลน์ เพราะเข้าถึงง่ายและมีต้นทุนต่ำ แต่ได้ผลตอบแทนเร็วและคุ้มค่า เพราะบทความหนึ่ง เจ้าของลิขสิทธิ์สามารถใช้ได้ตลอดชีวิต โดยบทความที่เป็นที่นิยมมากที่สุดในการทำตลาดออนไลน์ นั่นคือ บทความ SEO แต่จะทำอย่างไรให้ปังนั้น วันนี้ เราจะพามาดูกัน วางเป้าหมายของเนื้อหาให้ชัดเจน  สิ่งแรกที่นักเขียนบทความทุกคนต้องรู้มีอยู่ 3 อย่างคือ เขียนเกี่ยวกับเรื่องอะไร / เพื่ออะไร / กลุ่มเป้าหมายคือใคร หากทราบทั้ง 3 อย่างนี้ จะทำให้คุณวางจุดประสงค์ของการเขียนบทความออกมาได้อย่างชัดเจน ตัวอย่างเช่น หากบทความดังกล่าวมีกลุ่มเป้าหมายเป็นวัยรุ่น
0Comments

7 ข้อห้ามทำ เมื่อรับเขียนบทความ

สมัยนี้การเขียนบทความได้รับความนิยมกันมาก เพียงแค่มีคอมพิวเตอร์ 1 เครื่องก็สามารถเป็นนักเขียนได้แล้ว ไม่เหมือนเมื่อก่อนที่ส่วนใหญ่ ผู้จ้างจะรู้จักนักเขียนผ่านสื่อ สิ่งพิมพ์เท่านั้น แต่ทว่า...ทุกอย่างก็เหมือนดาบสองคม เพราะด้วยความง่ายและสะดวกสบายของการมีเทคโนโลยี ทำให้เกิดนักเขียนขึ้นมามากมาย ทั้งนักเขียนที่มีคุณภาพและนักเขียนสมัครเล่นที่บางครั้งก็ทำให้วงการนี้เสื่อมเสียชื่อเสียงอยู่ไม่น้อย วันนี้ ในฐานะรุ่นพี่จึงขอพามาดู 7 ข้อห้ามทำ เมื่อรับเขียนบทความ มาฝากนักเขียนมือใหม่ทุกท่านกัน ห้ามใช้ความคิดสร้างสรรค์เพียงอย่างเดียว แม้การใช้ความคิดสร้างสรรค์มาเขียนลงในบทความจะเป็นสิ่งที่ดี เพราะทำให้บทความมีความสดใหม่และน่าค้นหา อย่างไรก็ตาม มีบทความบางประเภทที่นักเขียนไม่สามารถใช้เพียงความคิดสร้างสรรค์ได้ นั่นคือ บทความวิชาการ เพราะบทความประเภทนี้ จำเป็นต้องใช้แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือและถูกต้อง นำมาเขียนลงในบทความ เพื่อให้ดูมีน้ำหนักและสามารถนำไปเผยแพร่ได้ โดยที่ไม่ส่งผลเสียต่อผู้อ่านที่จะนำไปใช้ต่อ แต่ที่สำคัญคือ อย่าลืมให้เครดิตของแหล่งข้อมูลที่นำมาด้วย
0Comments

เขียนบทความอย่างไร ให้คนอ่านกดไลท์ กดแชร์

เป็นธรรมดาของงานเขียนบทความที่ต้องการให้ผู้อ่านรู้สึกถูกใจและอยากกดไลท์ กดแชร์ขึ้นมา ซึ่งเป็นช่องทางในการประชาสัมพันธ์ช่องทางหนึ่งที่สามารถโปรโมทสินค้าและบริการได้อย่างง่ายดาย โดยที่ไม่ต้องเสียเงินไปกับการโฆษณา อีกทั้ง ยังส่งผลต่อการรับรู้ถึงลูกค้าในกลุ่มอื่นๆอีกด้วย ซึ่งหัวใจสำคัญคือ การเขียนบทความที่มีคุณภาพและสาระประโยชน์ที่ทำให้ผู้อ่านเกิดความสนใจ แต่จะทำอย่างไรกันบ้างนั้น วันนี้ ผู้เขียนมีเทคนิคดีๆที่นำมาฝากกัน หัวใจสำคัญคือ บทความที่มีคุณภาพ  การเขียนบทความที่มีคุณภาพจะทำให้บทความมีความโดดเด่นและแตกต่างจากบทความทั่วไป ตรงที่เน้นการวิเคราะห์กลุ่มเป้าหมาย / ผู้อ่านเป็นใคร / เนื้อหาสาระภายในบทความมีประโยชน์หรือไม่ ซึ่งสิ่งสำคัญคือ การหาข้อมูลที่มีความน่าเชื่อถือ จากนั้นก็เรียงลำดับความคิดเพื่อเขียนบทความตามโคร่งร่างที่ได้ร่างเอาไว้ เสร็จแล้วก็ทำการตรวจสอบคำถูก คำผิด เว้นวรรคให้ถูกต้อง อ่านแล้วเข้าใจง่าย จึงจะเป็นบทความที่มีคุณภาพ เมื่อคนเข้ามาอ่านก็จะเกิดความรู้สึกอยากกดไลท์ กดแชร์ อัพเดทข่าวสารอย่างสม่ำเสมอ  บทความในเว็บไซต์ถือเป็นเครื่องมือหนึ่งในการหาความรู้และหาข้อมูลของผู้อ่าน สังเกตมั้ยว่า
0Comments

6 เทคนิค เขียนบทความวิชาการ

การเขียนบทความวิชาการที่ดี เป็นศิลปะของการถ่ายทอดอย่างหนึ่ง เพราะทำให้ผู้อ่านเกิดความเข้าใจในเนื้อหา โดยเฉพาะเนื้อหาที่เข้าถึงยาก แต่สามารถทำให้คนทั่วไปที่ไม่ได้อยู่ในวงการนั้นๆสามารถเข้าใจได้ ซึ่งต้องใช้ทักษะและเทคนิคการเขียนพอสมควร แต่ทั้งนี้ การเขียนบทความวิชาการให้มีคุณภาพก็ไม่ใช่เรื่องยาก แต่ถ้าใครเป็นมือใหม่อาจจะต้องใช้เวลาฝึกฝนกันสักหน่อย เพราะของแบบนี้ ขึ้นอยู่กับความตั้งใจและการพัฒนาของแต่ละคน ซึ่งเทคนิคหลักๆที่จะต้องมี ผู้เขียนได้รวบรวมมาไว้ ณ บทความนี้แล้ว เข้าใจว่าบทความที่เขียนว่ามีวัตถุประสงค์อะไร  ผู้เขียนต้องทราบว่าบทความที่จะเขียนมีคอนเซ็ปต์อะไร ต้องการสื่อถึงผู้อ่านกลุ่มไหน เพื่อจะได้วางโครงเรื่องและใช้ภาษาให้เหมาะสมกับบริบทของบทความ ตัวอย่างเช่น ถ้าเป็นงานเขียนทางวิชาการ ควรใช้ภาษาที่เป็นทางการ ไม่เขียนแบบล้อเลียนหรือใช้ภาษาวิบัติ ที่สำคัญคือ อย่าลืมเรื่องการให้เครดิตข้อมูลที่นำมาอ้างอิง เพราะการเขียนบทความแนวนี้ จำเป็นต้องใช้หลักฐานและเอกสารข้อมูลในแหล่งอื่นๆ มาช่วยยืนยันและสนับสนุนข้อมูลที่เขียนด้วยเสมอ เข้าใจเนื้อหาอย่างถ่องแท้ การเขียนบทความวิชาการที่ดี ผู้เขียนจะต้องเข้าใจและเข้าถึงเนื้อหาที่จะใช้เขียนได้เป็นอย่างดี ซึ่งในข้อนี้มีความสำคัญมาก เพราะจะต้องนำข้อมูลที่ได้มาถ่ายทอดให้ผู้อ่านเข้าใจ
0Comments

6 วิธี เริ่มต้นเขียนบทความง่ายๆ 2017

สำหรับใครที่เป็นนักเขียนมือใหม่หรืออยากจะเข้ามาในวงการนักเขียน เชื่อว่าคงมีคำถามร้อยแปดพันประการว่าจะเริ่มต้นอย่างไร เขียนแบบไหนให้ผู้อ่านถูกใจและมีลูกค้าอยากจ้างต่อ ผู้เขียนต้องบอกก่อนว่าการเป็นนักเขียนไม่ได้มีกฏเกณฑ์ที่ตายตัวหรือจะต้องกำหนดว่าทำอย่างนั้น อย่างนี้ เพียงแต่เรามีความตั้งใจ รู้จักพัฒนาตนเอง มีจรรยาบรรณในอาชีพ เพียงเท่านี้โอกาสที่จะได้เป็นนักเขียนมืออาชีพก็ไม่ยากแล้ว แต่ถ้าใครอยากจะรู้เคล็ดลับและเทคนิคดีๆในการเริ่มต้นเขียนบทความ วันนี้ เราจะพามาดูกัน ฝึก ฝึกและฝึก  การฝึกเขียนในขั้นต้นไม่ต้องมีกฎเกณฑ์หรือหลักการอะไรมาก เป็นการเขียนสไตล์ที่เราชอบ ถนัดเรื่องใด มีความรู้ในเรื่องไหนก็สามารถนำมาเขียนได้เลย และลองให้คนที่รู้จักหรือกรุ๊ปนักเขียนอ่านบทความของคุณดูว่ามีข้อบกพร่องที่ต้องเพิ่มเติมตรงส่วนใดหรือไม่ หากยังไม่กล้าเผยแพร่บทความออกไป ขอแนะนำว่าเมื่อเขียนเสร็จ ทิ้งบทความที่เขียนเอาไว้สัก 1 วันแล้วค่อยกลับมาอ่านในวันถัดไป เพราะหลังจากกลับมาอ่านอีกครั้ง เราจะเริ่มรู้ว่ามีพารากราฟใดที่อ่านแล้วไม่เข้าใจและต้องเพิ่มเนื้อหาอะไรลงไปบ้าง อ่านบทความที่เผยแพร่ทางอินเทอร์เน็ต  เพื่อเก็บมาเป็นประสบการณ์ แต่ไม่ใช่คัดลอก เพราะสิ่งนี้ถือว่าผิดจรรยาบรรณในการเป็นนักเขียน  แต่ที่ให้อ่าน เพื่อดูว่างานเขียนที่มีคุณภาพนั้นเป็นอย่างไร
0Comments

เขียนบทความให้ปัง เริ่มต้นได้ที่การตั้งชื่อ

การเขียนบทความที่ดี นอกจากจะต้องมีเนื้อหาสาระและความน่าสนใจแล้ว สิ่งหนึ่งที่ขาดไม่ได้คือ การตั้งชื่อบทความ เพื่อให้ผู้อ่านทราบว่าบทความที่จะเขียนนั้นเกี่ยวข้องกับเรื่องอะไร แต่จะทำอย่างไรให้ชื่อบทความของคุณอยู่ในความสนใจและน่าคลิกเข้าไปอ่าน วันนี้ ผู้เขียนขอมาแนะนำเทคนิคดีๆในการตั้งชื่อบทความมาฝากผู้อ่านและนักเขียนมือใหม่ทุกท่านกัน รับรองว่า หากนำเทคนิคของเราไปใช้ การเขียนบทความของคุณจะประสบความสำเร็จอย่างแน่นอน ลิสต์ชื่อหัวข้อที่น่าสนใจ   หากคิดชื่อหัวข้อของบทความออกมาได้หลายชื่อ บอกเลยว่า นั่นเป็นสิ่งที่ดี เพราะคุณจะได้มีโอกาสเลือกได้มากกว่าไม่มีอะไรอยู่ในหัวเลย แต่อย่าลืมว่า ทุกครั้งที่คิดออก ควรหากระดาษโน้ตสักแผ่นมาจดไว้ ไม่อย่างนั้นความคิดนี้จะหายไปกับสายลม ยกตัวอย่างเช่น ได้คีย์เวิร์ดเรื่อง ลดความอ้วน อาจจะลิสต์มาสัก 4 – 5 ชื่อ “เช่น 7 เทคนิคลดความอ้วน”